Effectiveness of Smoking Cessation Community Based Program by Pharmacist
ศุภรักฺษ์ ศุภเอมฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในชุมชนว่ามีประสิทธิผลหรือไม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองชนิด Randomized controlled trial ซึ่งนำผู้ติดบุหรี่ที่สนใจจะเลิกบุหรี่จำนวนทั้งสิ้น 140 คน มาสุ่มเข้ากลุ่มศึกษาเพื่อรับโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในชุมชน จำนวน 70 คน และเข้ากลุ่มควบคุมเพื่อรับคำแนะนำถึงเทคนิคการเลิกบุหรี่นาน 10 นาที พร้อมเอกสารแนะนำการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง จำนวน 70 คน การศึกษาครั้งนี้ติดตามผู้ติดบุหรี่นาน 4 เดือน แล้วจึงประเมินว่าผู้ติดบุหรี่สามารถงดสูบบุหรี่ ได้อย่างน้อย 30 วันหรือไม่ พบว่าผู้ติดบุหรี่ในกลุ่มที่เข้ารับโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในชุมชน งดสูบบุหรี่นานไม่น้อยกว่า 30 วัน ได้ 31 คน ส่วนผู้ติดบุหรี่กลุ่มที่เข้ากลุ่มควบคุมสามารถงดสูบบุหรี่นานอย่างน้อย 30 วันได้ 9 คน และถือว่าการงดสูบบุหรี่ของกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.001) โดยมีอัตราการเลิกบุหรี่สูงกว่าผู้ติดบุหรี่ในกลุ่มควบคุมถึง 3.4 เท่า แต่ถ้าหากมีการปรับปัจจัยจากตัวแปรร่วมที่เกี่ยวข้องด้วยวิธี Binary logistic regression แล้วพบว่าผู้ติดบุหรี่ที่เข้าโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในชุมชนมีโอกาสเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ เป็น 6.3 เท่าของกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่าผู้ติดบุหรี่ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการงดสูบบุหรี่ในชุมชนมีอัตราการงดสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และพลังทางสถิติร้อยละ 80
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมชุมชน ปี 2552, February
ปีที่: 8 ฉบับที่ 42 หน้า 37-42
คำสำคัญ
Counseling, Smoking cessation, การเลิกสูบบุหรี่, การให้คำปรึกษา, Community, Group therapy, Pharmacist, กลุ่มบำบัด, ชุมชน, เภสัชกร