การแปลแบบทดสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในคนไทย
นลินี เปรมัษเฐียร*, นิภา อัยยสานนท์, ปานทิพย์ เจตนาวณิชย์, สุชาย ศรีทิพยวรรณ, อัครินทร์ นิมมานนิตย์
Nephrology division, Department of Medicine Siriraj Hospital, Prannok, Bangkok Noi, Bangkok 10700, Thailand. E-mail: [email protected],[email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อให้มีแบบสอบถามที่เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตอันเป็นที่ยอมรับสากลสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังสำหรับคนไทยวัสดุและวิธีการ: 1) ขอลิขสิทธิ์การแปลแบบสอบถาม CHEQ (CHOICE Health Experience Questionnaire) เป็นภาษาไทย 2) แพทย์เฉพาะทางโรคไต 3 ท่านแปล CHEQ เป็นภาษาไทย 3) นำแบบสอบถามที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาแปลกลับมาเป็นภาษาอังกฤษ (back translation) ให้ได้ข้อความที่คงความหมายเดียวกัน 4) นำแบบสอบถามให้ผู้ป่วยจำนวน 5-10 คนอ่านเพื่อค้นหาคำถามในแบบสอบถามที่ยังไม่ชัดเจน และปรับปรุงแบบสอบถามจนผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ดี 5) นำแบบสอบถามไปให้ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างทำเพื่อทดสอบความเที่ยงตรง (reliability and validity) ของแบบสอบถามผลการศึกษา: แบบสอบถาม CHEQ ฉบับภาษาไทยที่ได้มีค่าความเที่ยงตรง และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา (Cronbach’s alphas) เป็นที่น่าพึงพอใจใกล้เคียงกับแบบสอบถามต้นฉบับ และสามารถนำมาประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้จริง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, September ปีที่: 92 ฉบับที่ 9 หน้า 1159-1166
คำสำคัญ
Chronic, Questionnaires, Quality of life, Kidney failure