คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งในภาคใต้
บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์*, พิสมัย วัฒนสิทธ์ิ, อุทัยวรรณ พุทธรัตน์Department of Pediatric Nursing, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90112, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง ระหว่างการรับรู้ของกลุ่มผู้ป่วยเด็กกับกลุ่มผู้ดูแลเด็กและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งแบบวิจัย: แบบพรรณนาวัสดุและวิธีการ: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยในกุมารเวชกรรมของโรงพยาบาล 3 แห่งในภาคใต้ จำนวนกลุ่มละ 160 ราย เป็นผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ระยะ สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยและยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามประกอบด้วย1) ข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2) พฤติกรรมการดูแล และ 3) คุณภาพชีวิต ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2-3 ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคจากกลุ่มผู้ป่วยเด็ก เท่ากับ 0.87 และ 0.93 จากกลุ่มผู้ดูแลเด็กเท่ากับ 0.85 และ 0.90 ตามลำดับผลการศึกษา: พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของพฤติกรรมการดูแลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งตามการรับรู้ของกลุ่มผู้ป่วยเด็กและกลุ่มผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของพฤติกรรมการดูแลตามการรับรู้ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเด็กและกลุ่มผู้ดูแลเด็ก พบว่ากลุ่มผู้ดูแลเด็กมีค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลโดยรวมสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็ก (t=-5.195, p=0.000) ในขณะที่ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของคุณภาพชีวิตตามการรับรู้ของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (t=1.681, p= 0.094) พฤติกรรมการดูแล อายุของผู้ป่วยเด็ก และการศึกษาของผู้ดูแลเด็ก สามารถทำนายคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเด็กตามการรับรู้ของกลุ่มผู้ดูแลเด็กได้ร้อยละ 15.5 [(F3, 153)=10.57, p=0.000] ส่วนพฤติกรรมการดูแล และการศึกษาของผู้ป่วยเด็กสามารถทำนายคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเด็กตามการรับรู้ของกลุ่มผู้ป่วยเด็กได้ร้อยละ 12.3 [(F2, 157)=10.57, p=0.000]สรุป: พยาบาลควรให้การพยาบาลโดยคำนึงถึงพฤติกรรมการดูแลตามการรับรู้ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเด็กและกลุ่มผู้ดูแลเด็กที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้ง ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตตามการรับรู้ของผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมการดูแล และการศึกษาของเด็ก ส่วนปัจจัยที่ควรคำนึงถึงตามการรับรู้ของผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลเด็ก อายุเด็ก และการศึกษาของตนเอง ทั้งนี้เพื่อสามารถให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2551, September-October
ปีที่: 26 ฉบับที่ 5 หน้า 501-511
คำสำคัญ
Quality of life, Cancer, children, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยเด็ก, Influencing factors on quality of life, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต, โรคมะเร็ง