การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลมาตราการป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทย
จมาภรณ์ ใจภักดี, นงลักษณ์ เทศนา*, บุญทนากร พรมภักดี, แพรพรรณ ภูริบัญชา, โฆษิต พรประเสริฐOffice of Disease Prevention and Control 6, Khonkan, Ministry of Public Health
บทคัดย่อ
ความสำคัญและวัตถุประสงค์: ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นวัณโรคและส่งผลต่ออัตราการตายจากวัณโรคสูงขึ้น การใช้ยาต้านวัณโรคเพื่อป้องกันการป่วยวัณโรค เปิดโอกาสให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงยาต้านวัณโรคได้ทุกคนเหมือนการเข้าถึงยาต้านเอดส์ โดยใช้สูตรยาไอโสไนอะซิด (H) เป็นเวลา 9 เดือน (9H) หรือสูตรยาไรแฟมปิซิน (R) และพัยราซินาไมด์ (Z) เป็นเวลา 2 เดือน (2RZ) โดยมีการศึกษาประสิทธิผลได้ ร้อยละ 62 ผู้วิจัยจึงเห็นว่ามาตรการให้ยาป้องกันวัณโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีน่าจะเป็นวิธีการที่คุ้มค่าซึ่งจะทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนประสิทธิผลระหว่างการป้องกันวัณโรคในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ด้วยยา 9H และสูตรยาระยะสั้นด้วยยา 2RZ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้มาตรการ เพื่อนำผลการศึกษาเสนอแนะต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณากำหนดนโยบายป้องกันวัณโรคต่อไปวิธีการ: เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล โดยคำนวณจากต้นทุนต่อผลลัพธ์ เมื่อต้นทุน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาป้องกันวัณโรคในแต่ละมาตรการเฉพาะต้นทุนทางการแพทย์และผลลัพธ์ ได้แก่ประสิทธิผลของมาตรการคิดจากจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่เกิดจากการได้รับและไม่ได้รับมาตรการ โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ตัวแปรอื่นๆ ที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ สืบค้นจากเอกสารผลงานวิจัยและฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์ต้นทุนเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่ป่วยเป็นวัณโรคหลังจากได้รับและไม่ได้รับยาป้องกันวัณโรคในแต่ละมาตรการ พบว่าการไม่ใช้มาตรการป้องกันวัณโรคด้วยยาต้านวัณโรคมีความคุ้มทุนสูงสุด โดยป้องกันการเกิดผู้ป่วยวัณโรคได้ 6,429 คน ด้วยต้นทุน 16,947,025 บาท การใช้สูตรยา 2RZ จะป้องกันผู้ป่วยวัณโรคได้เพิ่มขึ้น 388 คน ด้วยต้นทุน 13,985 บาทต่อคน ส่วนการใช้ยา 9H จะป้องกันได้เพิ่มจาก 2RZ อีก 37 คน โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 63,620 บาทต่อคน ผลการวิเคราะห์ค่าความไวของตัวแปรโดยใช้ค่าที่น่าจะเป็นต่ำสุดและสูงสุดของอัตราป่วยวัณโรคหลังคัดกรอง อัตราประสิทธิผลของการให้ยาป้องกันวัณโรคทั้ง 2 มาตรการ และค่ารักษาผู้ป่วยวัณโรค พบว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงค่ารักษาวัณโรคให้สูงขึ้นเกิน 22,000 บาท จะส่งผลให้มาตรการการให้ยาป้องกันวัณโรคด้วย 2RZ และ 9H มีความคุ้มทุนประสิทธิผลมากกว่าการไม่ได้รับมาตรการ ส่วนผลการวิเคราะห์ค่าความไวของตัวแปรที่เหลือไม่พบความแตกต่างสรุป: ข้อจำกัดของการศึกษาครั้งนี้คือไม่ได้คิดผลลัพธ์อื่นๆ นอกเหนือจากด้านการป่วย ในด้านการคิดค่าต้นทุน ไม่ให้คิดต้นทุนอื่นๆ นอกเหนือจากด้านการแพทย์ เช่น ค่าใช้จ่ายทางด้านสังคม ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษา ผลลัพธ์อื่นๆ และไม่ได้คิดต้นทุนจากสภานบริการจริง ทำให้ผลการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลพบว่าการไม่ใช้มาตรการมีจุดความคุ้มทุนต่อประสิทธิผลสูงกว่าการให้ยา 2RZ และ 9H แต่เมื่อพิจารณาจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายในการป้องกันวัณโรค ซึ่งถ้าเปลี่ยนจากการไม่มีมาตรการใดๆ มาเป็นมาตรการ 2RZ ซึ่งป้องกันผู้ป่วยวัณโรคได้เพิ่มขึ้น 388 คน โดยเพิ่มค่าใช้จ่าย 13,985 บาทต่อคน ยังคุ้มค่ากว่าในการป้องกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ให้ป่วยเป็นวัณโรค และควรได้ศึกษาต้นทุนและประสิทธิผลของมาตรการในพื้นที่จริง เพื่อได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทราบข้อกำจัดอื่นๆ ของการดำเนินมาตรการด้วย
ที่มา
วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต ปี 2553, มกราคม-มีนาคม
ปีที่: 31 ฉบับที่ 1 หน้า 10-19