การเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษด้วยปริมาณสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131ที่ประเมินโดยค่าการจับไอโอดีน-131 โดยต่อมไทรอยด์กับการใช้ขนาดของต่อมไทรอยด์
ธัญญลักษณ์ เธียรธัญญกิจ*, ธีรพล เปรมประภา, สุจิตรา ทองมาก
Division of Nuclear Medicine, Department of Radiology, Siriraj Hospital, Faculty of Medicine, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; Phone: 0-2412-7165, E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษด้วยปริมาณสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ที่ประเมินโดยการใช้ขนาดต่อมไทรอยด์เปรียบเทียบกับการใช้ขนาดต่อมไทรอยด์ร่วมกับค่าการจับไอโอดีน-131 โดยต่อมไทรอยด์วัสดุและวิธีการ: เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษด้วยไอโอดีน-131 ในกลุ่มผู้ป่วยที่คำนวณปริมาณรังสีจากสูตรโดยใช้ค่าการจับไอโอดีน-131 โดยต่อมไทรอยด์ และกลุ่มควบคุมซึ่งคำนวณปริมาณรังสีจากขนาดของต่อมไทรอยด์ ที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกที่หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่าง มิถุนายน พ.ศ. 2550 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยพิจารณาผลที่เวลา 1 ปี หลังจากการรักษาผลการศึกษา: ในผู้ป่วยจำนวน 128 ราย ที่ติดตามการรักษาครบ 1 ปี พบว่า 56 ราย (45.3%) ยังคงมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ส่วน 26 ราย (20.3%) เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในขณะที่ 44 ราย (34.4%) มีการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่คำนวณปริมาณรังสีทั้งสองวิธีพบว่าปัจจัยด้านเพศ และขนาดของต่อมไทรอยด์มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาสรุป: การรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 โดยคำนวณปริมาณรังสีจากการประเมินขนาดต่อมไทรอยด์ด้วยการคลำ มีประสิทธิภาพในการรักษาทัดเทียมกับการคำนวณจากสูตรที่ใช้ค่าการจับไอโอดีน-131 โดยต่อมไทรอยด์ ซึ่งวิธีการแรกจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาผู้ป่วย ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, August ปีที่: 93 ฉบับที่ 8 หน้า 969-977
คำสำคัญ
Hyperthyroidism, Iodine-131, Radio-iodine uptake, Radioiodine