การเปรียบเทียบผลของการผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยวิธีผ่าตัดแบบธรรมดา, วิธีการผ่าตัดโยกเยื่อบุตามาเย็นเสริมและวิธีการผ่าตัดแบบใช้เยื่อบุตาเลาะมาเย็บเสริม
ณรงค์ ตั้งภากรณ์Department of Ophthalmology, Sawanpracharak Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลวิธีการผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกด้วยวิธี การผ่าตัดแบบธรรมดา Bare sclera (BST), วิธีการผ่าตัดโยกเยื่อบุตามาเย็บเสริม (Pedunculated conjunctival sliding flap: PCSF) และวิธีการผ่าตัดแบบใช้เยื่อบุตาเลาะมาเย็บเสริมในการลอกต้อเนื้อ (Conjunctival autografting transplantation: CAT)ลักษณะการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective randomized case control study วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อน และการเกิดเป็นซ้ำหลังผ่าตัดของวิธีการผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรกระดับ III ที่ทำให้ปัจจุบันทั้ง 3 วิธีโดยจักษุแพทย์คนเดียวที่ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ โดยศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 263 คน จำนวน 263 ตา โดยวิธีสุ่มแบ่งผู้ป่วยมารับการรักษาทั้ง 3 วิธี โดยมีผู้ป่วย 85 คน จำนวน 85 ตา ในกลุ่มแรก (BST), ผู้ป่วย 90 คน จำนวน 90 ตา ในกลุ่มที่สอง (PCSF) และกลุ่มที่สามมีผู้ป่วย 88 คน จำนวน 88 ตา ที่ได้รับการผ่าตัดแบบ CAT ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการติดตามผลของการผ่าตัดอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปีผลการศึกษา: พบจำนวนการเกิดเป็นซ้ำหลังผ่าตัดจำนวน 16 ราย (18.83%) ในกลุ่มแรก (BST) และพบจำนวนผู้ป่วยที่เกิดเป็นซ้ำ 2 ราย (2.22%) ในกลุ่มที่สอง (PSCF) และสำหรับวิธีที่สาม (CAT) พบการกลับมาเป็นซ้ำหลังผ่าตัดเพียงรายเดียวเท่านั้น (1.14%) โดยในการศึกษาครั้งนี้ ไม่มีรายงานภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อการมองเห็นของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดลอกต้อเนื้อทุกรายไม่ว่าวิธีใดก็ตามสรุป: การผ่าตัดลอกต้อเนื้อวิธี BST มีประสิทธิภาพต่ำกว่าในการป้องกันการเกิดเป็นซ้ำหลังการผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก และวิธีการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ PCSF หรือวิธี CAT โดยมีประสิทธิภาพสามารป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคต้อเนื้อได้ และมีความปลอดภัย โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการผ่าตัด
ที่มา
วารสารจักษุธรรมศาสตร์ ปี 2554, July-December
ปีที่: 4 ฉบับที่ 2 หน้า 13-22
คำสำคัญ
complication, ภาวะแทรกซ้อน, Recurrence, Comparing, Pterygium, Pterygium excision, การกลับเป็นซ้ำ, การลอกต้อเนื้อ, การเปรียบเทียบ, ต้อเนื้อ