คุณภาพชีวิตของสตรีที่ยุติการตั้งครรภ์
ชัยชนะ นิ่มนวล*, นริศรา รัตนประสพ
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลกับคุณภาพชีวิตของสตรีที่ยุติการตั้งครรภ์รูปแบบการทำวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study)สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างและวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือสตรียุติการตั้งครรภ์ 141 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต (WHOQOL-BREF-THAI)ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตของสตรีที่ยุติการตั้งครรภ์มีค่าคะแนนต่ำในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจ และเมื่อพิจารณาโดยใช้เกณฑ์อ้างอิง พบว่าในกลุ่มสตรียุติการตั้งครรภ์ 1 ใน 5 มีคุณภาพชีวิตไม่ดีด้านจิตใจ และ 1 ใน 4 มีคุณภาพชีวิตไม่ดีด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน พบว่ารายได้ (B = 2.1, p = .03) การตั้งครรภ์ในครรภ์หลังๆ  (B = 2.6, p < .01) และการอยู่ตามลำพังหรืออาศัยอยู่กับผู้ที่ไม่ใช่ญาติหรือคู่ของตน (B = 6.1, p =.01) ล้วนมีผลในการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม นอกจากนี้ยังพบว่ารายได้เพิ่มระดับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม (B = 0.7, p = .03) ในขณะที่การอยู่ตามลำพังหรือการอยู่กับผู้ที่ไม่ใช่ญาติหรือคู่ของตนสัมพันธ์ กับการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ (B = 2.5, p <.01) และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (B = 0.8, p = .01) การตั้งครรภ์ในครรภ์หลังๆ เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ (B = 1.1, p < .01) และสิ่งแวดล้อม (B = .06, p = .07) สรุป: กลุ่มสตรีที่ยุติการตั้งครรภ์มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและด้านต่างๆ ค่อนข้างต่ำ ผู้ที่อาศัยอยู่ด้วย รายได้ ลำดับการตั้งครรภ์มีส่วน อธิบายคุณภาพชีวิต ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้ อาจช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหามาตรการในการส่งเสริมให้สตรียุติการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2554, January-February ปีที่: 55 ฉบับที่ 1 หน้า 65-75
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Pregnant women, Terminate pregnancy, การยุติการตั้งครรภ์, สตรีตั้งครรภ์