บทคัดย่อ
จุดประสงค์: เพื่อศึกษาผลของสารสกัดขมิ้นชันในผู้ป่วยเด็ก β-thalassemia/HbE ในด้าน1.Oxidative stress (malonyldialdehyde; MDA)2.Non-transferrin bound iron (NTBI)3.Quality of life (QOL)รูปแบบการศึกษา: Prospective experimental research โดยวิธี randomized double blinded placebo control สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลอุตรดิตถ์วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2548 ถึงเดือน มิถุนายน 2550 โดยคัดเลือกผู้ป่วยเด็ก β-thalassemia/HbE ที่ผู้ปกครองยินยอมเข้าร่วมการศึกษาโดยไม่ได้รับเลือดในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา และไม่มีโรคร้ายแรงอื่นๆ ข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วย                1. ข้อมูลทั่วไป: อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต ชีพจร การรับประทานยา อาการแทรกซ้อนต่างๆ                 2. ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ complete blood count (CBC), vitamin C, Vitamin E, MDA, NTBI, lipid profile, liver function, renal function            3. ตอบแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 52 คน อายุ 6-18 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 55.7 เพศหญิงร้อยละ 42.3 น้ำหนักตัว 16-54 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 30 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 65.4 น้ำหนักตัวมากกว่า 30 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 34.6 ส่วนสูงอยู่ระหว่าง 103-160 เซนติเมตร ความดันโลหิต systolic อยู่ระหว่าง 80-120 mmHg และ diastolic อยู่ในช่วง 50-90 mmHg ชีพจรอยู่ในช่วง 72-120 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยที่ตัดม้ามแล้ว คิดเป็นร้อยละ 30.8 ค่า Hemoglobin F อยู่ระหว่าง 5.90-66.60 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธี randomized double blind placebo control แล้ว cross over โดยข้อมูลพื้นฐานทั้งสองกลุ่ม ร้อยละการรับประทานยา อาการแสดงไม่พึงประสงค์จำนวนคนและจำนวนครั้งที่มีการรับเลือด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า MDA และ NTBI ไม่ลดลง แต่เมื่อเทียบกับ baseline พบว่ากลุ่มสารสกัดขมิ้นชันมีร้อยละการเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มยาหลอก ทั้งในเดือนที่ 1, 3 และ 6 ส่วนคุณภาพชีวิตเมื่อเทียบกับ baseline ในเดือนที่ 6 กลุ่มยาหลอกไม่มีคุณภาพชีวิตด้านใดดีขึ้นเลย แต่กลุ่มสารสกัดขมิ้นชันมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในด้าน general health perceptions, role limitation-emotional และ physical component summary อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุปผล: สารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ป่วยเด็ก β-thalassemia/HbE ไม่ลด oxidative stress และ NTBI แต่มีร้อยละการเพิ่มน้อยกว่ายาหลอก ส่วนคุณภาพชีวิตในด้าน general health perceptions, role limitation-emotional และ physical component summary ดีขึ้น เมื่อรับประทานยานาน 6 เดือน
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ปี 2551, January-April ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 14-34
คำสำคัญ
Curcuminoids, β-thalassemia/HbE children, บีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี, สารสกัดขมิ้นชัน