เปรียบเทียบผลของการให้ยาป้องกันการอักเสบในเวลาที่ต่างกันในการผ่าตัดคลอดหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่เจ็บครรภ์และถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
เอนก ชัยธรรมกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ยาป้องกันการอักเสบติดเชื้อในการผ่าตัดคลอดหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก โดยการให้ยาก่อนการผ่าตัดเปรียบเทียบกับการให้หลังการหนีบสายสะดือทารกรูปแบบการศึกษา : single-blinded, randomized controlled trialสถานที่ศึกษา : กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดโดยที่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก ทั้งหมด 91 คน ที่มารับการผ่าตัดคลอด ภายใต้การดมยาสลบ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2551 จะถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม A ได้รับยา cefazolin 1 กรัม ก่อนการผ่าตัดคลอด 15-30 นาที ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ กลุ่ม B ได้รับหลังจากทารกคลอดและหนีบสายสะดือแล้ว เปรียบเทียบผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาหลังการผ่าตัดและติดตามทารกหลังคลอด โดยการใช้สถิติเปรียบเทียบแบบร้อยละและค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Chi square และ t-testผลการศึกษา : กลุ่ม A จำนวน 45 คน ได้รับยาก่อนการผ่าตัด กลุ่ม B จำนวน 46 คน ได้รับยาหลังทารกคลอดและหนีบสายสะดือแล้ว ข้อมูลพื้นฐาน อายุ อายุครรภ์ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่แตกต่างกันทั้ง 2 กลุ่ม พบภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด มดลูกอักเสบในกลุ่ม A 3 ราย (ร้อยละ7.33) กลุ่ม B 3 ราย (ร้อยละ 6.52) (p=0.98), แผลผ่าตัดอักเสบ กลุ่ม A 3 ราย (ร้อยละ 7.33) กลุ่ม B 4 ราย (ร้อยละ 8.69) (p=0.72) , ไข้หลังการผ่าตัด กลุ่ม A 9 ราย (ร้อยละ 20.2) กลุ่ม B 10 ราย (ร้อยละ 21.7) (p = 0.84), การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กลุ่ม A 5 ราย (ร้อยละ 11.1) กลุ่ม B 5 ราย (ร้อยละ 10.8) (p=0.97), ไม่พบการติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในทั้ง 2 กลุ่มจึงไม่แตกต่างกันในทารกพบการติดเชื้อในกระแสโลหิต กลุ่ม A 2 ราย (ร้อยละ 4.44) กลุ่ม B 2 ราย (ร้อยละ 4.34) (p=0.98) , ทารกจำเป็นต้องทำ septic work up กลุ่ม A 7 ราย (ร้อยละ 15.5) กลุ่ม B 6 ราย (ร้อยละ 13.0) (p=0.74), admission NICU กลุ่ม A 2 ราย (ร้อยละ 4.44) กลุ่ม B 2 ราย (ร้อยละ 4.34) (p=0.97), ไม่พบความแตกต่างในทารกทั้ง 2 กลุ่มสรุป : ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผลของการให้ยาป้องกันการอักเสบติดเชื้อระหว่างการเริ่มให้ยาก่อนการผ่าตัด กับการให้หลังจากทารก คลอดและหนีบสายสะดือแล้วในการผ่าตัดคลอดของทั้งสองกลุ่ม
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ปี 2552, January-April
ปีที่: 24 ฉบับที่ 1 หน้า 39-48
คำสำคัญ
Cesarean section, Cefazolin, การผ่าตัดคลอด, Antibiotic prophylaxis, การป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด