ผลของ Mitomicin C (MMC) ต่อเซลล์กระจกตาด้านในภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ
มนัสวี จรดล, พรชัย สิมะโรจน์, อธิคม เบญจเวชไพศาล, ธัตตะ ศุภกิจวิเลขการDepartment of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของยา Mitomycin C (MMC) ต่อเซลล์กระจกตาด้านในและอุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลรามาธิบดีวิธีการวิจัย: การวิจัยแบบ prospective randomized study วิธีการ: เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อเนื้อในโรงพยาบาลรามาธิบดีในช่วง เมษายน – กันยายน 2552 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก วาง MMC นาน 30 วินาทีก่อนวาง conjunctival graft กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ไม่วาง MMC โดยได้รับยาหลังผ่าตัด ชนิดเดียวกัน ก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดและวัดขนาด (Polymegethism) รูปร่าง (Pleomorphism) และจำนวน (Endothelial cell density) ของเซลล์กระจกตาด้านใน จากนั้นผู้ป่วยได้รับการตรวจวัดการมองเห็น ความดันลูกตา การกลับเป็นซ้ำและวัดขนาด รูปร่างและจำนวนของเซลล์กระจกตาด้านในซ้ำ ที่ 1 และ 3 เดือน นำค่าขนาด รูปร่างและจำนวนของเซลล์กระจกตา รวมถึงอุบัติการณ์กลับเป็นซ้ำมาเปรียบเทียบกันทางสถิติผลการศึกษา: จากผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด 18 ราย อายุระหว่าง 33-75 ปี (เฉลี่ย 56.56 ±9.81 ปี) ได้รับการวาง MMC 9 ราย ไม่วาง MMC 9 ราย เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยขนาด รูปร่างและจำนวนเซลล์กระจกตาก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด 1 และ 3 เดือน ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (Polymegethism; P = 0.587, 0.258, 0.116, Pleomorphism; P = 0.566, 0.217, 0.345, Endothelial cell density; P = 0.366, 0.950, 0.703 ตามลำดับ) จากระยะเวลาติดตามผลเฉลี่ย 6.67±1.57 เดือนพบการกลับเป็นซ้ำ 2 รายในกลุ่มควบคุม (22.22%) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการผ่าตัดสรุป: การวาง MMC ในการผ่าตัดต้อเนื้อไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และจำนวนของเซลล์กระจกตาด้านในและอุบัติการณ์การเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
จักษุเวชสาร ปี 2553, July-December
ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 79-85
คำสำคัญ
Mitomycin C, Pterygium excision, Conjunctival autograft, Corneal endothelial cell density, Pleomorphism, Polymegethism