ประสิทธิผลของการฝังเข็มเปรียบเทียบกับการใส่เฝือกอ่อนเวลากลางคืนในการรักษากลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ: การทดลองแบบสุ่มตัวอย่าง
วิภู กำเหนิดดี*, อัจฉรี แก้วทอง
Department of Rehabilitation Medicine, Phramongkutklao College of Medicine, Bangkok 10400, Thailand; Phone & Fax: 0-2354-3087; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มกับการใส่เฝือกอ่อนเวลากลางคืน ในการรักษากลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ (CTS)วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย CTS ระดับน้อยถึงปานกลาง จำนวน 61 ราย อายุ 27-67 ปี ได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง กลุ่มฝังเข็มได้รับการฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทั้งหมด 10 ครั้ง กลุ่มเฝือกอ่อน ให้ใส่เฝือกอ่อนเพื่อประคองข้อมือตอนกลางคืนเป็นเวลา 5 สัปดาห์ วัดผลโดยใช้แบบสอบถามบอสตัน ซึ่งจะวัดความรุนแรงของอาการ (SSS) และความสามารถในการใช้มือ (FSS) วัดระดับความปวดโดยใช้ visual analog scale (VAS) 100 มิลลิเมตรผลการศึกษา: VAS ลดลงในกลุ่มฝังเข็ม มากกว่ากลุ่มเฝือกอ่อน (p = 0.028) ขณะที่คะแนน SSS และ FSS ที่ดีขึ้นระหว่างสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้ามีประสิทธิผลลดอาการโดยรวม และเพิ่มความสามารถในการใช้มือ ได้เท่ากับการใส่เฝือกอ่อน แต่อาการปวดมือลดลงในกลุ่มฝังเข็มมากกว่ากลุ่มใส่เฝือกอ่อน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, December ปีที่: 93 ฉบับที่ 12 หน้า 1463-1469
คำสำคัญ
Acupuncture, Carpal tunnel syndrome, Hand numbness, Hand pain, Splinting