ยาทรามาดอลสอดทวารหนักเปรียบเทียบกับยาหลอกในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บ
ธนะรัตน์ ศรีเมฆารัตน์Department of Obstetrics and Gynecology, Trang Regional Hospital, Trang 92000, Thailand; Phone: 075-218-018, Fax: 075-218-831; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาควบคุมยาหลอกสุ่มอิสระปิดบังสองทางนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาทรามาดอลสอดทางทวารหนักในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บ ภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บวัสดุและวิธีการ: สตรีตั้งครรภ์เดี่ยวครบกำหนดจำนวน 100 ราย ที่คลอดบุตรปกติทางช่องคลอดซึ่งมีบาดแผลบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการตัดฝีเย็บโดยมีระดับความรุนแรงของบาดแผลระดับ 2 หรือ 3 จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่มอิสระปิดบังสองทางเพื่อรับยาทรามาดอลขนาด 50 มิลลิกรัม หรือยาหลอกอย่างละ 2 เม็ด สอดทางทวารหนักภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บเสร็จทันที สตรีคลอดบุตรดังกล่าวจะได้รับการประเมินความเจ็บปวดด้วย visual analogue score ภายหลังการเย็บแผลฝีเย็บเสร็จทันที และเมื่อ 30 นาที, 1, 2, 6, 12, และ 24 ชั่วโมง พร้อมประเมินผลข้างเคียงจากยาผลการศึกษา: ยาทรามาดอลและยาหลอกไม่มีความแตกต่างทางสถิติในคุณสมบัติระงับปวด ประเมินด้วยค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความเจ็บปวดในช่วงเวลาต่าง ๆ ไม่พบข้างเคียงรุนแรงจากยาสรุป: ไม่มีความแตกต่างระหว่างยาทรามาดอลและยาหลอก ในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บภายหลังเย็บแผลฝีเย็บ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2554, January
ปีที่: 94 ฉบับที่ 1 หน้า 17-20
คำสำคัญ
Tramadol, Perineal pain, Perineorrhaphy, Rectal suppository