การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้าและผู้ถูกตัดขาระดับใต้เข่า
เดือนฉาย โพธิ์งามโรงพยาบาลศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: การเกิดแผลที่เท้าและการถูกตัดขาระดับใต้เข่าในผู้เป็นเบาหวานเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้าและผู้ที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่าและใส่ขาเทียมโดยอ้างอิงกับผู้เป็นเบาหวานที่มีความบกพร่องของระบบประสาทส่วนปลายรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางสถานที่ทำการวิจัย: คลินิกสุขภาพเท้า คลินิกเบาหวาน และห้องตรวจกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลศรีสะเกษกลุ่มที่ทำการวิจัย: ผู้เป็นเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่สิงหาคม-ธันวาคม 2552 จำนวน 90 คน (มีความบกพร่องของระบบประสาทส่วนปลาย 30 คน, มีแผลที่เท้า 30 คน และถูกตัดขาระดับใต้เข่าและใส่ขาเทียม 30 คน)วิธีการ: สัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถาม SF-36 ฉบับภาษาไทยผลการวิจัย: คะแนน SF-36 ของกลุ่มผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้า และกลุ่มผู้ที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่าและใส่ขาเทียมต่ำกว่ากลุ่มที่มีความบกพร่องของระบบประสาทส่วนปลายทุกมิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีแผลที่เท้าและกลุ่มที่ถูกตัดขา พบว่ากลุ่มหลังมีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำกว่ากลุ่มแรกทุกมิติ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในมิติ Physical Functioning, Role-Physical และ Role-Emotionalสรุป: ระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้เป็นเบาหวานที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่าและใส่ขาเทียมต่ำกว่ากลุ่มที่มีแผลที่เท้าทุกมิติ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในมิติ Physical Functioning, Role-Physical และ Role-Emotional
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2553, January-April
ปีที่: 25 ฉบับที่ 1 หน้า 57-68
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, เบาหวาน, แผลที่เท้า, Diabates, Below knee amputation, Foot ulcer, ตัดขาระดับใต้เข่า