การให้สารน้ำอุ่นทางหลอดเลือดดำเพื่อลดภาวะหนาวสั่นสำหรับการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ: การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มปกปิดสองฝ่าย
จงรัก อำภูธร, ธานินทร์ ภิญโญพรพาณิชย์*, ศุภลักษณ์ อัจฉริยวรพงศ์Division of Anesthesiology, Sawanpracharak Hospital, Nakorn Sawan
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้สารน้ำอุ่นทางหลอดเลือดดำในการลดอุบัติการณ์ และความรุนแรงของภาวะหนาวสั่นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบสถานที่ศึกษา: ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบแบบไปข้างหน้าปกปิดสองฝ่ายวิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 60 ราย (ASA I-II) ที่มารับการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังตามมาตรฐาน สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสารน้ำอุ่น จะได้รับสารน้ำอุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส และกลุ่มควบคุม ได้รับสารน้ำอุ่นอุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส โดยได้รับสารน้ำปริมาณ 500 มิลลิลิตร ก่อนการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและตลอดระยะเวลาการผ่าตัด บันทึกอุบัติการณ์และระดับความรุนแรงของภาวะหนาวสั่น วัดอุณหภูมิเยื่อแก้วหู (แกนกลาง) เป็นค่าพื้นฐาน และทุก 10 นาทีเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และบันทึกผลข้างเคียงผลการศึกษา: กลุ่มสารน้ำอุ่นสามารถลดทั้งอุบัติการณ์ภาวะหนาวสั่น (ร้อยละ 0 ต่อร้อยละ 20.0ม p< 0.01) และความรุนแรงของภาวะหนาวสั่น (ระดับ 3: ร้อยละ 0 ต่อร้อยละ 20.0, p<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม หลังนาทีที่ 40 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิแกนกลางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มสารน้ำอุ่น (35.7 องศาเซลเซียส ต่อ 36.1 องศาเซลเซียส, P = 0.021) สรุป: การให้สารน้ำอุ่นทางหลอดเลือดดำ สามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของภาวะหนาวสั่นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังทั้งระหว่างและหลังผ่าตัดสำหรับการผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบได้
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2550, September-December
ปีที่: 4 ฉบับที่ 3 หน้า 685-693
คำสำคัญ
Shivering, Inguinal herniorrhaphy, การผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อนขาหนีบ, Warm intravenous fluid, ภาวะหนาวสั่น, สารน้ำอุ่น