การเย็บปิดกับการไม่เย็บปิดเยื่อบุช่องท้องและการเกิดพังผืดหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่โรงพยาบาลอุทัยธานี
สุพรรณีย์ คำจันทร์
Peritoneal Closure versus Non-Closure and Adhesion Formation after Cesarean Section at Uthaithani Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการเย็บปิด rectus sheath แบบ continuous และแบบ interrupted ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแผลผ่าตัดแยกสถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลอุทัยธานีรูปแบบการวิจัย: การวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มกลุ่มตัวอย่าง: หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวปกติ ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบ low midline abdominal incision ที่โรงพยาบาลอุทัยธานี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 918 คน แบ่งกลุ่มโดยวิธีสุ่ม แต่ถูกคัดออกเนื่องจากไม่สามารถติดตามถึง 6 สัปดาห์หลังผ่าตัดได้ จำนวน 43 คน คงเหลือหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเย็บปิด rectus sheath แบบ continuous non-locking จำนวน 439 คน และกลุ่มที่ 2 ซึ่งเย็บปิด rectus sheath แบบ simple interrupted จำนวน 436 คนวิธีการศึกษา: ติดตามประเมินสภาวะของแผลหลังผ่าตัดจนถึง 6 สัปดาห์ ศึกษาเปรียบเทียบการเกิดภาวะแผลผ่าตัดแยกของทั้ง 2 กลุ่มผลการศึกษา: ระยะเวลาในการผ่าตัดของกลุ่มที่เย็บปิด rectus sheath แบบ continuous non-locking น้อยกว่ากลุ่มที่เย็บปิด rectus sheath แบบ simple interrupted อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.003) แต่อัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัดและอัตราการเกิดแผลผ่าตัดแยกไม่แตกต่างกัน การแยกของแผลในรายที่เย็บแบบ continuous non-locking มีสาเหตุจากปมหลุดที่ส่วนล่างของแผล แต่การแยกของแผลในรายที่เย็บแบบ simple interrupted เกิดจาก fascia ฉีกขาดตรงตำแหน่งที่เย็บวิจารณ์และสรุป: อัตราแผลผ่าตัดแยก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่เย็บปิด rectus sheath แบบ continuous non-locking และแบบ simple interrupted สาเหตุของแผลแยกส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มแรงดันในช่องท้องฉับพลัน แต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เทคนิคการเย็บ fascia ที่รัดกุมมากขึ้น รวมทั้งการให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการไอ จาม หรืออาเจียนหลังผ่าตัด น่าจะมีประโยชน์ในการป้องกันและลดอุบัติการณ์แผลผ่าตัดแยก
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2553, May-August ปีที่: 7 ฉบับที่ 2 หน้า 75-83
คำสำคัญ
Cesarean section, Adhesion, Peritoneal Closured, การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, การเย็บปิดเยื่อบุช่องท้อง, พังผืด