เปรียบเทียบผลการดูแลแผลที่ถูกตัดผิวหนังเพื่อปลูกถ่าย โดยใช้กระดาษเคลือบพาราฟิน กับ Bactigras
เสรีย์ ภาคภูมิกมลเลิศDepartment of Surgery, Uthaithani Hospital, Uthai Thani
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทำแผล donor site ระหว่างวิธีดั้งเดิมโดยใช้แผ่น Bactigras กับการใช้กระดาษเคลือบพาราฟินสถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานีรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเปรียบเทียบแบบไปข้างหน้ากลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาเนื่องจากการติดเชื้อที่ขา และต้องผ่าตัดผิวหนังเพื่อปลูกถ่าย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนเมษายน 2553 จำนวน 32 คนวิธีการศึกษา: แบ่งแผลที่ถูกดัดผิวหนังเพื่อปลูกถ่ายออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ส่วนที่ 1 ทำแผลโดยใช้แผ่น Bactigras และส่วนที่ 2 ทำแผลโดยใช้กระดาษเคลือบพาราฟินผลการศึกษา: แผลที่ปิดด้วยกระดาษเคลือบพาราฟิน ใช้เวลาหายเฉลี่ยเร็วกว่า (9.1 วันเปรียบเทียบกับ 13.3 วัน P< 0.001) มีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ในวันที่ 2, 3, 4 และ 8 น้อยกว่า ( P = 0.04, 0.012, 0.012 และ 0.016 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยความยากง่ายในการทำแผลน้อยกว่า (2.1 เปรียบเทียบกับ 2.4 P < 0.001) เมื่อเทียบกับแผลที่ปิดด้วย Bactigras วิจารณ์และสรุป: จากการศึกษานี้พบว่าการใช้กระดาษเคลือบพาราฟินปิดแผล donor site แผลหายเร็วกว่า ปวดแผลน้อยกว่า ทำได้ง่ายกว่า และประหยัดกว่าการใช้แผน Bactigras โดยไม่พบแผลติดเชื้อ
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2553, May-August
ปีที่: 7 ฉบับที่ 2 หน้า 139-150
คำสำคัญ
Bactigras, Donor site dressing, Paraffin-paper, Split thickness skin grafting, กระดาษเคลือบพาราฟิน Bactigras, การตัดผิวหนังเพื่อปลูกถ่าย, การทำแผล donor site