การเปรียบเทียบการวัดความดันลูกตาโดยวิธีเป่าลมแบบไม่สัมผัสลุกตาเทียบกับวิธีการวัดแบบโกลด์แมน
วรินทร จักรไพวงศ์*, อัทยา อยู่สวัสดิ์, ไพศาล เอี่ยมอุดมสุข
Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand. Tel: 02-201-1526; Fax: 02-201-1216
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบวิธีการวัดความดันลูกตา โดยใช้วิธีการเป่าลม (computerized non-contact air puff) โดยไม่ต้องสัมผัสกระจกตาเทียบกับการวัดแบบเดิมที่ใช้เครื่องโกลด์แมน โดย randomized, cross-sectional study ในผู้ป่วย 50 ราย (ชาย 25, หญิง 25) จำนวน 100 ตา โดยวัดด้วยวิธีการเป่าลมก่อน โดยใช้เครื่องรุ่น CT-60 หลังจากนั้นจึงวัดความดันลูกตา ด้วยเครื่องโกลด์แมน โดยผู้ตรวจอีกคน ในลักษณะที่ผู้ตรวจไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายใดจะถูกวัดแบบไหนผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความดันลูกตาที่ได้จากการวัดโดยการเป่าลมเท่ากับ 15.79 มม.ปรอท ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากการวัดโดยวิธีโกลด์แมน (14.63 มม.ปรอท) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุป: เทคนิคการใช้วิธีเป่าลมโดยไม่สัมผัสกระจกตา วัดความดันลูกตาได้สูงกว่าการวัดโดยวิธีโกลด์แมน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำมาใช้ทางคลินิกต่อไป
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2547, April-June ปีที่: 27 ฉบับที่ 2 หน้า 46-49
คำสำคัญ
air, applanation, computerized, Goldmann, Intra-ocular, non-contact, pressure, puff, tonometry, การวัดวิธีเป่าลมแบบไม่สัมผัสลูกตา, การวัดแบบโกลด์แมน, ความดันลูกตา