คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหืดในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
สมพร มีมะโน
Outpatient Department, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital
บทคัดย่อ
โรคหืดรักษาไม่หายขาดต้องรักษาอย่างต่อเนื่องแต่มีอัตราตายต่ำ คุณภาพชีวิตแสดงผลของการรักษาที่แท้จริง การวิจัยแบบวิเคราะห์นี้เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้ สถานภาพสมรส ระยะเวลาเจ็บป่วยและระดับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคหืด 100 รายที่รับการรักษาในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เครื่องมือเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลด้วยค่าความถี่และร้อยละ ส่วนคุณภาพชีวิตนำเสนอด้วยค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตแต่ละด้านกับปัจจัยต่างๆ ด้วยการประมาณค่าขอบเขตของช่วงความเชื่อมั่น (95% CI) พบว่าผู้ป่วยโรคหืด  มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและด้านต่าง ๆ ระดับปานกลางแต่ด้านจิตใจอยู่ในระดับดี ผู้ที่การศึกษาระดับอุดมศึกษา มีคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมดีกว่า ผู้ที่อาชีพรับราชการมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพและผู้ที่มีอาชีพอื่นทั้งด้านจิตใจและด้านสิ่งแวดล้อม ผู้มีรายได้พอใช้มีเก็บสะสมมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านสิ่งแวดล้อมดีกว่า โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยในการศึกษานี้มีอาการนาน ๆ ครั้งจึงไม่พบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตในกลุ่มที่ความรุนแรงของโรคต่างกัน สรุปได้ว่าระดับความรุนแรงของโรคเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถปรับปรุงการดูแลรักษาให้ผู้ป่วยโรคหืดมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2553, September-December ปีที่: 27 ฉบับที่ 0 หน้า 363-371
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Asthma, โรคหืด, ผู้ป่วย, Clinic, Patient, คลินิก