การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของคนงานในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างการตรวจทุกปี กับการตรวจตามแนวทางของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
ธนะวัฒน์ เจริญวนิชชากร
Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
                การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผล ของการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของประชากรวันทำงานระหว่างการตรวจทุกปี กับการตรวจแนวทางของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของผู้ที่ได้รับการตรวจจากหน่วยบริการเคลื่อนที่ของคลินิกเวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2547-กุมภาพันธ์ 2548                 ผลการศึกษาพบว่า อัตราชุกของภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ส่วนต้นทนุ-ประสิทธิผลของการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของการตรวจทุกปี ทุก 3 ปี และทุก 5 ปี ของประชากรที่ศึกษาทั้งหมดอยู่ระหว่าง 4,967.86 -3,267.87 บาท 1,622.51-1,105.79 บาท และ 973.37-673.28 บาท ตามลำดับ สำหรับในประชากรชาย พบว่า ต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของการตรวจทุกปี ทุก 3 ปี และทุก 5 ปี อยู่ระหว่าง 3,004.75-1,304.75 บาท  968.06-451.17 บาท และ 580.61-280.24 บาท ตามลำดับ ส่วนในประชากรหญิงพบว่า ต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของการตรวจทุกปี ทุก 3 ปี และทุก 5 ปี อยู่ระหว่าง 4,499.15 -2,799.14 บาท 1,466- 949.52 บาท และ 879.60- 579.48 บาท ตามลำดับ                ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือดตามแนวทางของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย มีต้นทุน-ประสิทธิผลดีกว่า ส่วนการตรวจพบความผิดปกติล่าช้าสามารถลดผลนี้ได้ โดยแพทย์ที่ทำการตรวจสุขภาพ ควรทำการซักประวัติเพื่อหาผู้ป่วยที่เสี่ยงสูง ก่อนพิจารณาเจาะเลือดผู้ป่วยที่มาทำการตรวจสุขภาพ
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2549, May-August ปีที่: 14 ฉบับที่ 2 หน้า 73-81
คำสำคัญ
cost effectiveness, Hypercholoesterolemia