การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษา Fracture Distal End Radius โดยวิธี Short Arm Cast กับ Sugar Tong Splint
ภาณุพล ระจินดาDepartment of Orthopaedics, Sappasitthiprasong Hospital
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การดึงกระดูกเข้าที่ (closed reduction) และการใส่อุปกรณ์ตามภายนอก (external immobilization) เป็นการรักษามาตรฐานของกระดูกหักที่บริเวณท่อนแขนส่วนปลาย (fracture distal end radius) เนื่องจากอุปกรณ์ตามภายนอกมีหลายชนิด ชนิดของอุปกรณ์ดังกล่าวอาจมีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษา และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกันวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วย fracture distal end radius แบบไม่มีแผลเปิด orthopedic Trauma Association (OTA) classification type A2, A3 ด้วยการดึงกระดูกเข้าที่และใส่ sugar tong splint เปรียบเทียบกับการใส่ short arm castผู้ป่วยและวิธีการ: รวบรวมผู้ป่วย fracture distal end radius แบบไม่มีแผลเปิด OTA classification type A2, A3 ซึ่งได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างเดือน มกราคม 2548 ถึงเดือน ธันวาคม 2548ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย fracture distal end radius ทั้งหมด 102 ราย ได้รับการรักษาโดยการใส่ sugar splint 52 ราย (ร้อยละ 50.9) และใส่ short arm cast 50 ราย (ร้อยละ 49.1) ลักษณะพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ผลการรักษาได้แก่ volar tilt, radial inclination, radial shortening, percent redisplacement, อัตราความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยมในผู้ป่วย fracture distal end radius โดยการดึงกระดูกเข้าที่และใส่ sugar tong splint เป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ทำได้ง่าย ให้ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนไม่แตกต่างจากการใส่ short arm cast
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปี 2549, May-August
ปีที่: 14 ฉบับที่ 2 หน้า 113-120
คำสำคัญ
Fracture distal end of radius, Short arm cast, Sugar tong splint