ผลการระงับปวดระหว่าง continuous epidural bupivacaine - morphine และ intravenous patient controlled analgesia ต่อระดับคุณภาพการฟื้นตัวใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดช่องท้องส่วนบน
กาญจนา อุปปัญ, จุฑาลักษณ์ สุวรรณทินประภา, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม*, วาสนา ศรศักดา, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, เฉลิมศรี สรสิทธิ์, โอวตือ แซ่เซียว
Department of Anesthesiology, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การระงับปวดที่ดีโดยเฉพาะภายหลังผ่าตัดช่องท้องส่วนบนจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ แต่ยังไม่เคยมีรายงานศึกษาเปรียบเทียบผลการระงับปวดโดยวิธีการให้ยาชาทางช่องepidural (CEA) วิธีการใช้ intravenous patient controlled analgesia (IV PCA) หลังการผ่าตัดช่องท้องส่วนบนในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมาก่อนวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวด ปริมาณยาระงับปวด morphine ที่ผู้ป่วยต้องการ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ระดับคุณภาพการฟื้นตัวใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมารับการผ่าตัดช่องท้องส่วนบนโดยวิธี CEA และวิธี IV PCAรูปแบบการศึกษา: ศึกษาไปข้างหน้า แบบ randomized controlled trial สถานศึกษา: หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เท่ากันโดยการสุ่ม ผู้ป่วยทุกคนได้รับการระงับความรู้สึกด้วยเทคนิคเดียวกัน โดยกลุ่ม CEA ได้รับยาชา 0.0625% ร่วมกับ morphine 0.05 มก./มล. ทางช่อง epidural และกลุ่ม IV PCA ได้ยา morphine ผ่านเครื่อง PCA (1 มก./มล.) ในระยะ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ประเมินผลการระงับปวดจากค่าคะแนนความปวด (NRS) ขณะพัก (NRS-R) และขณะเคลื่อนไหว/ไอ (NRS-M) ประเมิน Likert’s scales ระดับ ambulation scores ประมาณยาระงับปวด morphine ที่ผู้ป่วยได้รับ และผลข้างเคียงที่เวลา 6 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย และประเมินคุณภาพการฟื้นตัวที่ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการผ่าตัด ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดขณะพักและเคลื่อนไหว/ไอ ที่เวลา 6 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกันทางสถิติ พบว่าระดับ ambulation scores ที่เวลา 24 ชั่วโมงในกลุ่ม CEA สูงกว่ากลุ่ม IV PCA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.046) และปริมาณการใช้ยา morphine ที่เวลา 24 ชั่วโมงในกลุ่ม CEA น้อยกว่ากลุ่ม IV PCA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.02) สำหรับระดับ Likert’s scales คุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นรวมถึงระยะเวลาการอยู่ในโรงพยาบาลของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันสรุป: การระงับปวดหลังผ่าตัดด้วยการใช้ยาทางช่อง epidural (CEA) ให้ระดับ ambulation scores ที่สูงกว่า และลดปริมาณการใช้ยา morphine ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่ม IV PCA ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่มารับการผ่าตัดช่องท้องส่วนบน
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2549, October-December ปีที่: 21 ฉบับที่ 4 หน้า 267-274
คำสำคัญ
Analgesia, Epidural, postoperative pain, upper abdominal surgery