การบริบาลทางเภสัชกรรมต่อการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ผ่องศรี พัววรานุเคราะห์
Department of Pharmacy, Ratchaphiphat Hospital, Medical Service Department, Bangkok Metropolitan Administration
บทคัดย่อ
คำนำ: โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่พบบ่อยในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและยาที่ใช้มีเทคนิคการใช้พิเศษ จึงมักก่อให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา การบริบาลทางเภสัชกรรมจะช่วยจัดการปัญหาด้านยาและส่งผลดีต่อการควบคุมโรคจิต ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหืดดีขึ้นวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อผลการควบคุมโรคหืดวัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืด จำนวน 64 คน คัดเลือกโดยการสุ่มเข้ากลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน กลุ่มศึกษาได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และการทดสอบทีผลการศึกษา: 1.             กลุ่มศึกษามีจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)2.             กลุ่มศึกษามีสมรรถภาพปอด (PEFR) ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 3.             กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยทักษะการใช้ยาสูตรชนิด Accuhaler เพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)4.             กลุ่มศึกษามีผลต่างคะแนนความรู้โดยรวม (ด้านโรค ด้านยา และด้านปัจจัยกระตุ้นให้หอบ) สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)5.             กลุ่มศึกษามีผลการควบคุมโรคหืดระดับ Control ในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)6.             กลุ่มศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการให้ความร่วมมือในการใช้ยาสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุป: ควรนำรูปแบบการดำเนินการที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้กับระบบงานการดูแลผู้ป่วยโรคหืดของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์และขยายกิจกรรมนี้ไปให้ครอบคลุมผู้ป่วยโรคหืดในเครือโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครต่อไป
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ปี 2554, January-June ปีที่: 7 ฉบับที่ 1 หน้า 33-41
คำสำคัญ
Asthma, โรคหืด, Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม