การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการขูดมดลูกโดยใช้อุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลากับอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะ
กนก สีจร, วรลักษณ์ สมบูรณ์พร*, สุพินดา พันเทศ, สุวรีย์ เผ่าจิระศิลป์ชัยDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวดจากการขูดมดลูกระหว่างการใช้อุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลา และอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะ2. เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่เลือดออกภายหลังการขูดมดลูกระหว่างการใช้อุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลา และอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะ3. เพื่อเปรียบเทียบความเพียงพอของเนื้อเยื้อเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ระหว่างการใช้อุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลา และอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะระเบียบการวิจัย: Randomized controlled trialสถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มตัวอย่าง: สตรีที่แผนกผู้ป่วยนอกนรีเวช ที่มีปัญหาเรื่องเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด และต้องได้รับการขูดมดลูก ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2540 ถึง 20 มกราคม พ.ศ.2541วิธีการศึกษา: การขูดมดลูกด้วยอุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลา หรืออุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะตัววัด: 1. ระดับความปวดโดยใช้ visual analogue scale และ descriptive pain evaluation2. ระยะเวลาที่เลือดออกภายหลังการขูดมดลูก โดยนับเป็นวัน3. ความเพียงพอของเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า จำนวนสตรีที่มีอาการปวดอยู่ในระดับรุนแรงมาก พบในกลุ่มที่ขูดมดลูกด้วยอุปกรณ์ชนิดโลหะมากกว่าในกลุ่มที่ขูดมดลูกด้วยอุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลา ที่ความเสี่ยงสัมพัทธ์เท่ากับ 5 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 2.25-11.13) และ 7.25 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 2.71-19.36) จากการประเมินด้วย visual analogue scale และ descriptive pain evaluation ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาที่เลือดออกภายหลังการขูดมดลูก และความเพียงพอของเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา พบว่าทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่เลือดออกในกลุ่มที่ขูดมดลูกด้วยอุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลาเท่ากับ 2.93 ± 2.58 วัน ในขณะที่กลุ่มอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะเท่ากับ 2.50 ± 2.06 วัน และความเพียงพอของเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในกลุ่มอุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลาเท่ากับร้อยละ 83.33 ในกลุ่มอุปกรณ์ชนิดโลหะเท่ากับร้อยละ 86.67สรุปผลการศึกษา: การขูดมดลูกโดยใช้อุปกรณ์คาร์แมน แคนนูลาก่อให้เกิดอาการปวดน้อยกว่าอุปกรณ์ขูดมดลูกชนิดโลหะ ในขณะที่การใช้อุปกรณ์ทั้งสองชนิดสามารถเก็บเนื้อเยื่อเพื่อวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาได้ไม่แตกต่างกัน และระยะเวลาที่เลือดออกภายหลังการขูดมดลูกก็ไม่แตกต่างกัน
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2543, January-March
ปีที่: 15 ฉบับที่ 1 หน้า 18-22
คำสำคัญ
pain, bleeding, endometrial curettage, Karman cannula, metal curette