ผลการฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้าด้วยอุปกรณ์ฝึกหายใจแบบใหม่ (BreatheMAX) เป็นเวลา 7 วัน ในผู้ป่วยที่พึ่งเครื่องช่วยหายใจ: การศึกษานำร่องของ randomized controlled trial
ชุลี โจนส์*, วิภา รีชัยพิชิตกุล, สายแก้ว เจือจันทร์Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University; e-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถของผู้ป่วยที่พึ่งเครื่องช่วยหายใจในการ หย่าเครื่องช่วยหายใจ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานำร่องเกี่ยวกับผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้า โดยใช้อุปกรณ์ฝึกหายใจแบบใหม่ของไทย ในผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ โดยมุ่งเน้นศึกษาในด้านความปลอดภัย ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้า ความสามารถในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และความสามารถของผู้ป่วยในการฝึกความแข็ง แรงด้วยอุปกรณ์แบบใหม่ ในผู้ป่วยที่หายใจล้มเหลวจากการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และกำลังได้รับการฝึกหย่าเครื่องช่วยหายใจ ด้วยวิธีปกติทางแพทย์ (medical weaning protocol: MWP) จำนวน 10 ราย แต่สามารถศึกษาจนสิ้นสุดโปรแกรม 7 ราย (หญิง 6 ราย, ชาย 1 ราย) อายุเฉลี่ย 58 ±10.6 ปี ซึ่งได้ถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้า (inspiratory muscle training, IMT) จำนวน 4 ราย และกลุ่มควบคุม (control: C) จำนวน 3 ราย กลุ่ม IMT ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้า ด้วยแรงต้านร้อยละ50 ของแรงดันลบสูงสุดในการหายใจเข้า (peak negative inspiratory pressure: PNIP) 6 ครั้ง/ชุด วัน ละ 10 ชุด ทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน หรือจนกระทั่งหย่าเครื่องช่วยหายใจสำเร็จ ร่วมกับการฝึกตาม MWPโดยการหายใจเองด้วย continuous positive airway pressure (CPAP) และหรือหายใจเองด้วย T-piece ในขณะที่กลุ่ม C ได้รับเฉพาะ MWP อย่าง เดียว ประเมินการทำงานของปอดและหัวใจ ก่อนและหลังการฝึกทันทีทุกวัน และประเมิน PNIP และระยะเวลาของหายใจ ด้วยตัวเองตามวิธี MWP ก่อนและหลังการฝึก (วันแรกและวันที่ 7) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยสามารถฝึกกล้ามเนื้อหายใจด้วย อุปกรณ์แบบใหม่ได้ การทำงานของปอดและหัวใจไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ PNIP มีค่าเพิ่มขึ้นทุกรายในกลุ่ม IMT โดยมีค่ากลาง ของ PNIP เพิ่มขึ้นจาก 20 เป็น 25 เซนติเมตรนํ้า (25 %, P = 0.045) แต่ในกลุ่ม C ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งก่อนและหลังฝึก ผู้ป่วยในกลุ่ม IMT สามารถหายใจด้วยตัวเองตาม CPAP ได้นานขึ้น (ค่ากลางเท่ากับ 5 ชั่วโมง) แต่ลดลง ในกลุ่ม C (ค่ากลางเท่ากับ 1 ชั่วโมง) และระยะเวลาที่ต้องหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจในกลุ่ม IMT ลดลงมากกว่ากลุ่ม C อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วย 2 ใน 4 รายของกลุ่ม IMT สามารถเริ่มฝึก หย่าเครื่องช่วยหายใจด้วย T- piece ได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยในกลุ่ม IMT สามารถนอนหลับได้นานขึ้นและขับเสมหะได้เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้าด้วยอุปกรณ์ฝึกหายใจแบบใหม่ สามารถทำในผู้ป่วยที่พึ่งเครื่องช่วยหายใจได้ อย่างปลอดภัย ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเพิ่มขึ้น และทำให้สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจ
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2554, May-August
ปีที่: 23 ฉบับที่ 2 หน้า 165-176
คำสำคัญ
Loaded breathing, Specific inspiratory muscle training, Ventilator weaning, Ventilatory dependence