ประสิทธิผลของการให้สุขศึกษา โดยใช้สื่อบุคคลเปรียบเทียบกับสื่อแบบผสมผสาน ต่อความร่วมมือในการประคบอุ่นของผู้ป่ วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
ภัทริยาภรณ์ บุญญวงศ์*, สุขนิภา วงศ์ทองศรี, อตินุช มาลากุล ณ อยุธยา
Department of Occlusion, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
การประคบอุ่นสามารถทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีอาการดีขึ้นได้  แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการประคบอุ่น การให้สุขศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้สุขศึกษาโดยใช้สื่อบุคคลกับสื่อแบบผสมผสานในการให้ความร่วมมือประคบอุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ บดเคี้ยวซึ่งมารับการรักษาเป็นครั้งแรกจำนวน 93 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยวิธีสุ่มแบบบล็อก กลุ่มควบคุมจำนวน 47 รายจะได้รับสุขศึกษาโดยสื่อบุคคล ในขณะที่กลุ่มทดลองจำนวน 46 รายจะได้รับสุขศึกษาโดยสื่อแบบผสมผสาน ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับสุขศึกษาในครั้งแรกของการมาพบทันตแพทย์ และการประเมินความร่วมมือทำได้โดยการให้ผู้ป่วยตอบแบบรายงานตนเองและบันทึกประจำวันเกี่ยวกับการประคบอุ่นตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าทุกคนให้ความร่วมมือในการประคบอุ่น โดยค่าคะแนนความร่วมมือประคบอุ่นเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) จึงสรุปว่าประสิทธิผลของการให้สุขศึกษาโดยใช้สื่อบุคคลกับสื่อแบบผสมผสานในการให้ความร่วมมือประคบอุ่น ไม่มีความแตกต่างกัน
ที่มา
เชียงใหม่ทันตแพทยสาร ปี 2554, July-December ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 113-124
คำสำคัญ
Compliance, อาการปวดกล้ามเนื้อ, adherence, Hot moist application, Masticatory muscle pain, Patient’s education, การประคบอุ่น, การให้สุขศึกษา, ความร่วมมือในการรักษา, บดเคี้ยว