ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวล ความรู้ และทัศนคติของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำ
จำรัส วงค์คำ, มาสินี ไพบูลย์*
Nursing Division, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การเจาะน้ำคร่ำเป็นการวินิจฉัยทารกในครรภ์เกี่ยวกับความผิดปกติของโครโมโซมวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยควบคุมและป้องกันโรคทางพันธุกรรม สตรีตั้งครรภ์ส่วนมากไม่รู้ ไม่เข้าใจถึงแผนกการตรวจวินิจฉัย จะมีความวิตกกังวล บางคนอาจปฏิเสธการตรวจวินิจฉัย การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมน่าจะช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ลดความวิตกกังวลลงได้ และยอมรับการเจาะน้ำคร่ำมากขึ้นวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวล ความรู้และทัศนคติของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำรูปแบบของการศึกษา: ศึกษาแบบ Randomized Controlled Trialสถานที่ศึกษา: แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกลุ่มตัวอย่าง: ทำการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการเจาะน้ำคร่ำช่วงเดือนมกราคม 2540 ถึง ตุลาคม 2540 จำนวน 70 ราย สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 35 ราย กลุ่มทดลอง 35 รายการวัดผล: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความวิตกกังวล ความรู้และทัศนคติของสตรีตั้งครรภ์ก่อนและหลังการเจาะน้ำคร่ำในลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS/pc+ สถิติที่ใช้ได้แก่ Analysis of covariance และ t-testผลการวิจัย:    1.  สตรีตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมจากผู้วิจัยมีความวิตกกังวลน้อยกว่า สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมที่มีอยู่เดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 82.11, P< 0.05)  2. สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมจากผู้วิจัยมีความรู้มากกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมที่มีอยู่เดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (t=-3.40, P< 0.05)  3. สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมจากผู้วิจัยมีทัศนคติที่ดีมากกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมที่มีอยู่เดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-1.49, P<0.05)อภิปรายและสรุปผล: จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมจะช่วยลดความวิตกกังวลในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะน้ำคร่ำและสตรีตั้งครรภ์ยังมีความรู้ และทัศนคติที่ดีมากขึ้น ดังนั้นควรให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมแก่สตรีตั้งครรภ์ก่อนเจาะน้ำคร่ำทุกคน
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2542, January-March ปีที่: 14 ฉบับที่ 1 หน้า 14-20