คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลิน
กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ, กมลเนตร วรรณเสวก, นาราพร ประยูรวิวัฒน์, ศรีอาภา สมาจาร, สนทรรศ บุษราทิจ, สสิธร ศิริโท, สุวิทย์ เจริญศักดิ์*
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700 Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อสำรวจถึงคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลิน ที่เข้ารับการดูแลรักษาในคลินิกเอ็มเอส ในโรงพยาบาลศิริราชวัสดุและวิธีการ: กลุ่มประชากรคือผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลิน คลินิกเอ็มเอส โรงพยาบาลศิริราชที่มาติดตามการรักษาในช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม – เดือนสิงหาคม 2553 ที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษาโดยใช้แบบสำรวจคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย จำนวน 135 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด Mann-Whitney U Test และค่าความสัมพันธ์ของสถิติของ Elifson Kirkwผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลิน โรงพยาบาลศิริราชจำนวน 135 คน เป็นผู้ป่วยหญิง 109 คน (ร้อยละ 80.7) อายุเฉลี่ย 42.8 ปี ระยะเวลาที่เป็นโรคเฉลี่ย 5.2 ปี ผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลินส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยมัลติเพิลสเคลอโรซิส (ร้อยละ 54.8) ชนิดของมัลติเพิลสเคลอโรซิส relapsing/remitting MS (ร้อยละ 80.5) อาการของโรคที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ อาการอ่อนแรง (ร้อยละ 52.6) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในเอ็มเอสคลินิก โรงพยาบาลศิริราชใน 8 มิติ ได้แก่ ภาวะสุขภาพทางจิตใจ 70.5 คะแนน ภาวะสุขภาพทางกาย 47.8 คะแนน ความเจ็บปวดของร่างกาย 63.3 คะแนน ความสามารถทางกายภาพ 55.9 คะแนน ข้อจำกัดในบทบาททางอารมณ์ 60.6 คะแนน ความมีชีวิตชีวา 61.6 คะแนน และความสามารถทางสังคม 79.1 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลินกับกลุ่มประชากรไทยทั่วไป ผู้ป่วยชายมีคุณภาพชีวิตในมิติภาวะสุขภาพทางกาย มิติความสามารถทางกายภาพ มิติข้อจำกัดในบทบาททางกายภาพ และมิติความมีชิวิตชีวาต่ำกว่าประชากรไทยชายทั่วไปผู้ป่วยหญิงมีคุณภาพชีวิตในมิติภาวะสุขภาพทางกาย มิติความเจ็บปวดของร่างกาย มิติความสามารถทางกายภาพ มิติข้อจำกัดในบทบาททางกายภาพ มิติข้อจำกัดในบทบาททางอารมณ์ และมิติความสามารถทางสังคม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ได้แก่ มีประวัติโรคทางจิตเวชร่วมด้วย อาการของโรค และปัญหาด้านการเงินสรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มโรคมัยอิลิน คลินิกเอ็มเอส โรงพยาบาลศิริราชด้อยกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ยกเว้นคุณภาพชีวิตในด้านความสามารถทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ได้แก่ มีประวัติโรคทางจิตเวชร่วมด้วย อาการของโรค และปัญหาด้านการเงิน
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2553, January-March ปีที่: 56 ฉบับที่ 1 หน้า 71-80
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, คุณภาพชีวิต, Multiple sclerosis, มัลติเพิลสเคลอโรซิส, แบบสำรวจคุณภาพชีวิต SF-36