ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนเอง ต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจ
ชลเวช ชวศิริ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, สุวคล โกสีย์ไกรนิรมล*, อรพรรณ โตสิงห์
Siriraj Hospital; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค:์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริม สมรรถนะของตนเอง ต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการเคลื่อนไหวของลำไส้ ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองวิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศิริราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบง่ายเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 32 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเอง แบบสังเกตการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบบันทึกการเคลื่อนไหวของลำไส้ และโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว ผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับการฝึกโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของหอผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการเคลื่อนไหวของลำไส้ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การทดสอบค่าทีและการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะของตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( x bar = 117.00, S.D. = 2.06; x bar = 89.50, S.D. = 12.94; p< .001) มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( x bar = 63.28, S.D. = 8.67; x bar = 50.00, S.D. = 6.72; p< .001) แต่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ไม่แตกต่างกันสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมสมรรถนะของผู้ป่วยตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดและต่อเนื่องถึงหลังผ่าตัด
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2553, April-June ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 58-66
คำสำคัญ
PROGRAM, self-efficacy, Activities of daily living, Bowel movement, Lumbar spine surgery, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, การเคลื่อนไหวของลำไส้, สมรรถนะของตนเอง, โปรแกรมผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว