ผลของโปรแกรมเดินออกกำลังกายต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเองและความทนทานในการท
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, สุวิมล กิมปี, อุษณีย์ น้อยนะวะกุล*
Bhumibol Adulyadej Hospital, Bangkok, Thailand; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเดินออกกำลังกายต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเองและความทนทานในการทำกิจกรรมของ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีกรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลอง แบบสองกลุ่มทดลองวัดก่อนและหลังวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อายุ 45 ปี ขึ้นไป มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก โดยมีระดับกำลังของกล้ามเนื้อเกรด 3 ขึ้นไป และสามารถเดินได้ด้วยตนตนเองหรือมีผู้ช่วยเหลือเป็นระยะทางอย่างน้อย 30 ฟุต คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดและทำการสุ่มตัวอย่างด้วยตารางเลขสุ่มเพื่อเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมเดินออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 35 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการฟื้นฟูสภาพตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเดินออกกำลังกาย และแบบบันทึกความทนทานในการทำกิจกรรมโดยวัดจากระยะทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ไคสแควร์ การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีกในกลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเองในการออกกำลังกายมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีความทนทานในการทำƒ กิจกรรมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)ข้อเสนอแนะ: ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการเดินออกกำลังกาย ซึ่งโปรแกรมการเดินออกกำลังกายนี้สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสมรรถนะในการออกกำลังกายและความทนทานในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีก
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2553, October-December ปีที่: 28 ฉบับที่ 4 หน้า 45-53
คำสำคัญ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, Functional capacity, Stroke patients, Hemiparesis, Perceived self-efficacy, Walking exercise, การรับรู้สมรรถนะในตนเอง, ความทนทานในการทำกิจกรรม, ภาวะอัมพาตครึ่งซีก, โปรแกรมเดินออกำลังกาย