ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ธวัชชัย พีระพัฒน์ดิษฐ์, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, นงลักษณ์ อิงคมณี*
Department of Male Medicine, Sena Hospital, Phranakhon Si Ayutthaya, Province, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อน หลังการทดลอง และแบบเปรียบเทียบสองกลุ่มวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการรักษาที่คลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสนา ที่เข้าร่วมการทดลองสุทธิ 51 คน เป็นตัวอย่างกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลอง 26 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ คือ ได้รับความรู้จากพยาบาลประจำคลินิกเป็นรายบุคคล เกี่ยวกับเบาหวานและการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยาระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้รายบุคคล การให้ความรู้รายกลุ่ม การฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับประทานยาและวิธีการแก้ไขปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน ได้รับคู่มือการแก้ไขปัญหาเมื่อใช้ยาเบาหวานชนิดกินและแบบบันทึกการรับประทานยาขณะอยู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีและการทดสอบวิลคอกซันผลการวิจัย: 1. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยา มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) 2. ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยา มีความสม่ำเสมอในการรับประทานยาสูงกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่คลินิกเบาหวาน สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการรับประทานยาไปใช้ในระบบการดูแลผู้ป่วยที่คลินิกเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานตัดสินใจแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันโดยใช้เหตุผล ส่งผลให้รับประทานยาสม่ำเสมอเพิ่มขึ้น
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2554, April-June ปีที่: 29 ฉบับที่ 2 หน้า 56-64
คำสำคัญ
Type 2 diabetes, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, Medication adherence, Problem-solving ability program, การแก้ไขปัญหา, ความสม่ำเสมอในการ, รับประทานยา, โปรแกรมส่งเสริมความสามารถ