คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการในสองจังหวัดของประเทศไทย
พิทยา จารุพูนผล*, ศุภชัย ปิติกุลตัง, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์Department of Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University, 420/1 Rajavithi Rd, Bangkok 10400, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ในพื้นที่ 2 จังหวัด ของประเทศไทย
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มอย่างมีขั้นตอนในกลุ่มผู้พิการจำนวน 5,352 คน ที่อาศัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และนครราชสีมา ระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคม พ.ศ.2551 โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตที่แปลเป็นภาษาไทยฉบับย่อ และแบบวัดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
ผลการศึกษา: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการในด้านการออกกำลังกายและความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 46.6 และ 52.8 ตามลำดับสำหรับพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร และการจัดการความเครียดของผู้พิการอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 80.8 และ 43.8) และคุณภาพชีวิตโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 79.3) ซึ่งพบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) คือ พฤติกรรมด้านการออกกำลังกายและพฤติกรรมด้านการจัดการความเครียด (r = 0.18, r = 0.12)
สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้พิการที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกาย และมีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจะมีคุณภาพชีวิตในระดับดี การส่งเสริมให้คนในครอบครัวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องการส่งเสริมสุขภาพให้มีการสนับสนุนการออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมในผู้พิการจะช่วยให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, December
ปีที่: 92 ฉบับที่ Suppl 7 หน้า S54-S58
คำสำคัญ
Quality of life, Health promoting behavior, Disabled people