คุณภาพชีวิตทางสุขภาพและความรุนแรงของโรคลูปัสในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Paijit Asavatanabodee, Pongthorn Narongroeknawin, Sangduen Sumransurp, Sumapa Chaiamnuay*, Suphawan Phukongchai, Viyanuch Lomaratana
Rheumatic Disease Unit, Department of Internal Medicine, Phramongkutklao Hospital, 315 Rajvithi road Rajthevi, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
 
ภูมิหลัง: คุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคลูปัสยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคลูปัส และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
คุณภาพชีวิตทางสุขภาพ และความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคลูปัส
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยโรคลูปัสจำนวน 95 ราย เข้าร่วมรับการประเมินคุณภาพชีวิตทางสุขภาพโดยการ
ตอบแบบสอบถามเอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทย ในขณะที่ตอบแบบสอบถามผู้ป่วยทุกราย ได้รับการประเมิน
การกำเริบของโรคโดยใช้ตัวชี้วัดการวัดการ กำเริบของโรคที่ปรับปรุงไว้ใช้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยผู้วิจัยจากประเทศเม็กซิโก และตัวชี้วัดการทำลายของโรคจากการร่วมมือผู้วิจัยนานาชาติ และสมาคมแพทย์
โรครูมาติสซั่มแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของแบบสอบถามเอสเอฟ-36 และความรุนแรงของโรคใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลูปัสทั้งสิ้น 95 ราย (เพศหญิง 93 ราย และเพศชาย 2 ราย) ได้เข้าร่วมการวิจัย มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของระยะเวลาของการป่วยเป็นโรค 115 และ 83 เดือน ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวชี้วัดทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของแบบสอบถาม เอสเอฟ-36 มีค่าเท่ากับ 45.5 ±9.5 และ 41.1 ± 9.3 ตามลำดับ ตัวชี้วัดการทำลายของโรคมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับตัวชี้วัดทางสุขภาพกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ 0.411, p < 0.001) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดการทำลายของโรคกับตัวชี้วัดทางสุขภาพจิต และตัวชี้วัดการกำเริบของโรคกับตัวชี้วัดทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
สรุป: ตัวชี้วัดทางสุขภาพกายมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับตัวชี้วัดการทำลายของโรคในผู้ป่วยโรคลูปัส
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2553, November ปีที่: 93 ฉบับที่ Suppl 6 หน้า S125-S130
คำสำคัญ
SF-36, Health related quality of life, Systemic lupus erythematosus, Disease activity, Damage