การศึกษาผลการใช้ foam sclerotherapy ในการรักษาภาวะหลอดเลือดดำขอดที่ขาเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิม (injection sclerotherapy)
Teerachai Ukritmanoroat
Department of Surgery, Rajavithi Hospital, College of Medicine, Rangsit University, 2 Phyathai Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
 
ภูมิหลัง: การรักษาภาวะหลอดเลือดดำขอดที่ขาโดยวิธี sclerotherapy ใช้การฉีดสาร sclerosing agent เข้าไป
ในหลอดเลือดดำ ทำให้เกิด chemical irritation ต่อผนังชั้น intima ของหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดตีบตัน (sclerosis) มักได้ผลดีในหลอดเลือดขอดขนาดกลาง และขนาดเล็กมีผู้ศึกษาใช้วิธี foam sclerotherapy โดยผสมฟองอากาศเข้าไปในน้ำยา sclerosing agent ทำให้เกิด microfoam นำมาใช้ฉีดรักษาหลอดเลือดดำขอดที่ขาซึ่งได้ผลดีกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของการใช้ foam sclerotherapy กับวิธีการใช้ liquid sclerotherapy
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ prospective randomized controlled trial ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำขอดที่ขาขนาดมากกว่า 2 มม. มีอาการและไม่มีภาวะ sapheno femoral junction reflux ทั้งชายและหญิงที่มารักษา
ที่กลุ่มงานศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 50 คน โดยทุกรายได้ รับการสุ่มเพื่อรักษาโดยวิธีการใช้ foam sclerotherapy และ liquid sclerotherapy ควบคู่กันในขาเดียวกันหรือคนละข้าง และตรวจเปรียบเทียบผลการรักษาก่อนและหลังโดย duplex ultrasonography รวมทั้งศึกษาผลแทรกซ้อนด้านความปวด การอักเสบ และสีผิวที่เข้มขึ้นโดยเก็บข้อมูลหลังฉีด 15 วัน 30 วัน และ 90 วัน
ผลการศึกษา: ประสิทธิภาพการรักษา และทำให้หลอดเลือดตีบตัน (sclerosis) พบ 92% ในกลุ่ม foam sclerotherapy เทียบกับ 76%ในกลุ่ม liquid sclerotherapy หลังฉีด 90 วันโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในช่วง 15 วัน 30 วัน และ 90 วัน (foam sclerotherapy vs. liquid sclerotherapy: 86% vs. 64% at 15 days p < 0.001, 90% vs. 76% at 30 days p < 0.001, 92% vs. 76% at 90 days p < 0.002 ) อาการข้างเคียงพบว่าอาการปวดและสีผิวเข้มขึ้นพบในกลุ่ม foam sclerotherapy มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระยะ15 วันและ 30 วัน แต่ระยะ 90 วัน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
สรุป: การรักษาภาวะหลอดเลือดดำขอดที่ขาโดยวิธีการใช้ foam sclerotherapy มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธี liquid sclerotherapy แต่มีผลข้างเคียงในด้านอาการปวดและสีผิวเข้มขึ้นมากกว่ากลุ่ม liquid sclerotherapy
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2554, March ปีที่: 94 ฉบับที่ Suppl 2 หน้า S35-S40
คำสำคัญ
Foam sclerotherapy, Conventional sclerotherapy, Sclerosing agents, Polidocanol, Telangiectasia