ผลของการป้องกันเสียงด้วยวัสดุอุดหูต่อความต้องการยาโปรโพฟอลในการระงับความรู้สึกขณะสลายนิ่ว
Supaporn Tharahirunchot*, Suwanna Tatiyapongpinij, เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจDepartment of Anesthesiology, Department of Medicine, Rajavithi Hospital, 2 Phyathai Road, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าการป้องกันเสียงด้วยวัสดุอุดหูสามารถลดปริมาณของโปรโพฟอล (propofol) ที่ใช้เพื่อคงระดับของค่า bispectral index ให้คงที่ ในผู้ป่วยที่มาสลายนิ่ว (ESWL) ได้หรือไม่
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วย 58 คน ที่เป็นนิ่วในไต มารับการสลายนิ่ว (ESWL) อายุตั้งแต่ 18-65 ปี ASA physical status ระดับ 1 หรือ 2 และมีการได้ยินปกติ โดยได้รับการตรวจด้วย audiometry แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่ม เป็น กลุ่มป้องกันเสียง (ได้รับการใส่วัสดุอุดหูในหูทั้ง 2 ข้าง) และกลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับการใส่วัสดุอุดหู) หลังจากนั้น ผู้ป่วยได้รับยาสงบประสาทด้วย โปรโพฟอล (propofol) โดยควบคุมระดับยาที่ให้ด้วย target controlled infusion เริ่มที่ 1.2 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และปรับขนาดยาครั้งละ 0.2 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ทุก 5 นาที เพื่อคงระดับค่า bispectral index ที่ 75-80 จนกระทั่งเสร็จสิ้นการสลายนิ่ว การวัดค่าตัวแปร: ปริมาณโปรโพฟอล (propofol), ค่า BIS index, ระดับเสียงในห้องผ่าตัด, ระดับความพึงพอใจ
ผลการศึกษา: ปริมาณโปรโพฟอล (propofol) ที่ใช้เพื่อคงระดับค่า BIS index ให้คงที่ในผู้ป่วยที่มาสลายนิ่ว (ESWL) ในกลุ่มป้องกันเสียงด้วยวัสดุอุดหูน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.021) ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: การป้องกันเสียงในห้องผ่าตัดสามารถลดปริมาณโปรโพฟอล (propofol) ที่ใช้ในการสงบประสาทในระดับตื้นขณะทำการสลายนิ่ว (ESWL) ได้
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปี 2554, March
ปีที่: 94 ฉบับที่ Suppl 2 หน้า S103-S107
คำสำคัญ
Propofol, ESWL, Bispectral index, Noise, Operating room noise, Sedation