การใส่ lidocaine เข้าช่องท้องเพื่อลดความเจ็บปวดขณะผ่าตัดทำหมันหลังคลอดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
ดวงพร รัตนลาภไพบูลย์*, มลฤดี ประสิทธิ์, ยุทธพงศ์ วีระวัฒนตระกูล, เพียงจิต เทียรไพศาล
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใส่ lidocaine เข้าช่องท้องและหาปริมาณที่เหมาะสมของ lidocaine เพื่อลดความเจ็บปวดขณะผ่าตัดทำหมันหลังคลอดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
รูปแบบการวิจัย: Randomized, double-blinded, placebo-controlled study
วัสดุและวิธีการ: สตรีหลังคลอดที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีข้อห้ามในการทำหมันจำนวน 60 ราย ที่ได้รับการทำหมันโดยแพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำบ้านภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ทำการสุ่มโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับสารละลายฉีดพ่นเข้าช่องท้องก่อนการค้นหาท่อนำไข่จำนวน 20 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำเกลือ (Normal saline) กลุ่มที่ 2 และ3 ได้รับ lidocaine 100 และ 200 มิลลิกรัมตามลำดับ ทำการวัดระดับความเจ็บปวดระหว่างและหลังจากทำหมันทันทีโดยใช้ Numerical rating scale (NRS โดยมีระดับคะแนน 1-10)
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดในกลุ่มที่ได้รับ lidocaine (100 และ 200 มิลลิกรัม) มีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ lidocaine อย่างมีนัยสำคัญ (NRS 3.40, 3.50 vs. 6.55, p-value 0.019 และ 0.024 ตามลำดับ) ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มที่ได้ lidocaine 100 และ 200 มิลลิกรัม (NRS 3.40 vs. 3.50, Mean difference 95%CI -2.41 ถึง 2.21) ส่วนค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดหลังจากทำหมันทันที พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในทั้ง 3 กลุ่ม (p-value 0.613)
สรุป: การใส่ lidocaine เข้าช่องท้องมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดขณะผ่าตัดทำหมันหลังคลอดโดยวิธีที่ใช้ยาชาเฉพาะที่ ปริมาณยาชา 100 มิลลิกรัม ก็เพียงพอในการระงับความเจ็บปวดได้ดี อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทำหมันได้
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, April ปีที่: 95 ฉบับที่ 4 หน้า 477-481
คำสำคัญ
Intraperitoneal lidocaine, Postpartum tubal resection, Pain control, Srinagarind Hospital