ประสิทธิภาพของ 10% Lidocaine Spray ขณะใส่ท่อช่วยหายใจต่อการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต อาการไอและอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด
พิสมัย สาระเสน*, อมรา ลีแสน
Division of Anesthesiology, Sappasittiprasong Hospital, Ubonratchathani province
บทคัดย่อ
 
หลักการและเหตุผล: การ Apply laryngoscope และการใส่ท่อช่วยหายใจถือว่าเป็นการกระตุ้นที่รุนแรง ก่อให้เกิดการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต อาการไอและอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด นอกจากนี้ อาการไอและการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตยังทำให้ผู้ป่วยเกิดความไม่สบายและอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ซึ่งประสิทธิภาพของ lidocaine ที่พ่นบริเวณ Pharyngolaryngeal ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อที่จะช่วยลดอาการไอ และการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการพ่น 10% lidocaine (Xylocaine® 10% Spray, Astra, Sweden) บริเวณ Pharyngolaryngeal ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจต่อการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต อุบัติการณ์ของการเกิดอาการไอ และอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบ Prospective, randomized controlled trial
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ASA physical status 1 จำนวน 72 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่มคือ กลุ่มทดลองได้รับ 10% Lidocaine พ่นบริเวณ Pharyngolaryngeal ขนาด 2 puff (20 มก.) ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับยานี้ บันทึกค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาการไอและอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลาทันทีหลังใส่ท่อช่วยหายใจ 3 นาที และ 5 นาที หลังใส่ท่อช่วยหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ขณะเวลา 3 นาที และ 5 นาที หลังใส่ท่อช่วยหายใจ แต่อุบัติการณ์ของการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาการเจ็บคอหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม การพ่น lidocaine ไม่ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดอาการไอ และการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิต ในช่วงตื่นจากการให้ยาระงับความรู้สึกเช่นเดียวกับในห้องพักฟื้น
สรุป: การเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจขณะใส่ท่อหายใจ สามารถป้องกันได้โดยการพ่น 10% lidocaine ขนาด 2 puff (20 มก.) บริเวณ Pharyngolaryngeal ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจ แต่การพ่น lidocaine ไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บคอหลังผ่าตัด อาการไอ  และการตอบสนองของระบบไหลเวียนโลหิตขณะตื่นจากให้ยาระงับความรู้สึก
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2553, May-August ปีที่: 25 ฉบับที่ 2 หน้า 83-91
คำสำคัญ
Intubation, Emergence, anesthetics, Cough, Local : lidocaine