การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยในคลินิกพิเศษสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวกับคลินิกผู้ป่วยนอก
เอนก กนกศิลป์*, เกรียงไกร เฮงรัศมี, พรรณศักด์ิ วุฒิวโรภาสDepartment of Cardiology, Chest Disease Institute, Nonthaburi 11000, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ อัตราการรอดชีวิต อัตราการเข้ารับการรักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาล สมรรถภาพของหัวใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รับการรักษาในคลินิกพิเศษสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว กับ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกทั่วไปภายหลังจากออกจากโรงพยาบาล
วัสดุและวิธีการ: ติดตามผู้ป่วย 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาจำนวน 50 คนได้รับการติดตามการรักษาในคลินิกพิเศษสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คนจะติดตามการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในคลินิกผู้ป่วยนอกของสถาบันตามปกติ เป็นระยะเวลา 1 ปี
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่รักษาในคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว มีอัตราการเข้ารับการรักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (12 ครั้ง vs. 23 ครั้ง, p-value =0.04) อัตราการการเสียชีวิตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(7/50 vs. 8/41, p-value = 0.45) ผู้ป่วยที่รักษาในคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว เมื่อสิ้นสุดการศึกษา (12 เดือน) มีค่าเฉลี่ยของการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (LVEF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.038) ค่าเฉลี่ยของการเดินบนพื้นราบ 6 นาที
(6-minute walk test) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.032) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิต (KCCQ Score) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.048) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
สรุป: คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวไม่เพียงแต่ลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาล ยังช่วยให้สมรรถภาพของหัวใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, April
ปีที่: 92 ฉบับที่ 4 หน้า 466-470
คำสำคัญ
Left, Quality of life, Survival, Walking, Exercise test, Heart failure, Patient readmission, Stroke volume, Ventricular function