การศึกษาเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนระยะแรกหลังผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเร่งด่วนและแบบไม่เร่งด่วนในผู้ป่วยริดสีดวงทวารมีลิ่มเลือดและโผล่แลบ
จิรศักดิ์ ปริวัฒนศักดิ์Department of Surgery, Buriram Hospital, Buriram 31000
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดแบบเร่งด่วนในโรคริดสีดวงทวารมีลิ่มเลือดและโผล่แลบ จะทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น ศัลยแพทย์ส่วนหนึ่งกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่สูงหลังผ่าตัด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนระยะแรกหลังผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม (randomized clinical trial) ที่กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยศึกษาผู้ป่วยริดสีดวงทวารมีลิ่มเลือดและโผล่แลบที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผ่าตัด แบบเร่งด่วน และกลุ่มที่ 2 ผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน ทำ การบันทึกข้อมูลทั่วไป ระยะเวลาผ่าตัด เลือดออกหลังผ่าตัด แผลแยกที่ 2 และ4 สัปดาห์ กลั้นอุจจาระไม่อยู่ที่ 2 และ 4 สัปดาห์ ปัสสาวะไม่ออก ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมดมี 210 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 จำนวน 105 ราย เพศชาย 61 ราย หญิง 44 ราย อายุระหว่าง 15 – 89 ปี เฉลี่ย 45.62±15.30 ปี มีโรคประจำตัว 19 ราย ส่วนกลุ่ม ที่ 2 มี 105 ราย เพศชาย 57 ราย หญิง 48 ราย อายุระหว่าง 16 – 82 ปี เฉลี่ย 48.04±15.45 ปี มีโรคประจำตัว 14 ราย จากผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ในเรื่องเลือดออก แผลแยก กลั้นอุจจาระไม่อยู่ และปัสสาวะคั่งค้าง
สรุป: จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเร่งด่วนสามารถทำได้ด้วยความปลอดภัย
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2554, October-December
ปีที่: 26 ฉบับที่ 4 หน้า 266-271
คำสำคัญ
Early postoperative complication, Urgent hemorrhoidectomy and Prolapsed Thrombosed Hemorrhoid