การวัดและควบคุมค่าความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องเพียงอย่างเดียวจะช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ภายหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ได้หรือไม่?
อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ*, กาญจนา อุปปัญ, คัทลียา ทองรอง, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม, วรนุช แต้ศิริ, สุเจตนา ภูมิสวาสดิ์, อรศิริ สามัญตระกูลDepartment of Anesthesiology, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: อาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ซึ่งประกอบด้วยอาการเจ็บคอ
เสียงแหบ และกลืนลำบาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากภายหลังการระงับความรู้สึกและผ่าตัด โดยปัจจัยสำคัญหนึ่งคือ ความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจที่เพิ่มมากขึ้นหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลมของผู้ป่วยภายหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ระหว่างการไม่ควบคุมและควบคุมความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจให้อยู่ระหว่าง 20-25 มม.ปรอท ตลอดการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 144 ราย ASA class I-II ที่นัดมาผ่าตัดและระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้งสองกลุ่มจะเติมอากาศเข้าไปในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจจนวัดความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจเริ่มต้นได้ 20 มม.ปรอท โดยที่กลุ่มควบคุม จะไม่มีการยัดค่าความดันของถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอีกตลอดการผ่าตัด ส่วนกลุ่มที่ศึกษาจะวัดความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องและควบคมุความดัน ให้อย่รูะหว่าง 20-25 มม.ปรอท ตลอดการผ่าตัด จากนั้นเก็บข้อมูลอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ที่หอผู้ป่วยภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดโดยใช้ Numeric Rating Scale (NRS)
ผลการศึกษา: พบว่า อุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลมของผู้ป่วยภายหลังการระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ภายใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)
สรุป: การวัดและควบคุมค่าความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจอย่างต่อเนื่องเพียงอย่างเดียว ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกด้วยไนตรัสออกไซด์ ไม่สามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของการเกิดอาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม ภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดได้
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2554, October-December
ปีที่: 26 ฉบับที่ 4 หน้า 333-338
คำสำคัญ
hoarseness, Postoperative laryngotracheal discomforts, Sore throat, Dysphagia, Intracuff pressure, อาการไม่สบายบริเวณกล่องเสียงและหลอดลม, เจ็บคอ, เสียงแหบ, กลืนลำบาก, ความดันในถุงลมปลายท่อช่วยหายใจ