เปรียบเทียบผลการรักษาและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก
ประภัสสร ก้อนแก้วโรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและค่าใช้จ่าย ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากรายงานผู้ป่วยใน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 212 ราย โดยมี กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาก่อนการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก 120 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก 92 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรรณนา สถิติทดสอบ Chi-square สถิติทดสอบ Fisher’s exact และสถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา: พบว่า ด้านผลการรักษาการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ระหว่างที่รักษาในโรงพยาบาล การกลับมารักษาที่ห้องฉุกเฉิน ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการจำหน่าย และการกลับมารักษาเป็นผู้ป่วยในด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายใน 28 วัน โดยไม่ได้นัด ในกลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาพยาบาลโดยใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.003, p = 0.006 และ p = 0.001 ตามลำดับ) ในด้านค่าใช้จ่าย พบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าห้อง ค่าหัตถการและค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา และเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าใช้จ่ายรวม ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกไม่แตกต่างกัน
สรุป: การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกที่สร้างขึ้น ของโรงพยาบาลร้องกวาง ทำให้ผลการรักษา คือ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน ระหว่างที่รักษาในโรงพยาบาลที่มา
วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ปี 2551, September-December
ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 67-77
คำสำคัญ
Chronic obstructive pulmonary disease, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ค่าใช้จ่าย, Therapeutic outcomes, Expenditures, Clinical Practice Guideline, ผลการรักษา, แนวทางปฏิบัติทางคลินิก