ผลระยะสั้นของการออกกำลังกายแบบชักรอกต่อภาวะข้อไหล่ติดในผู้ป่วยเบาหวาน
รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล*, สุภาภรณ์ ผดุงกิจ, สาวิตรี วันเพ็ญ, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, ธงชัย ประฏิภาณวัตร, มณเฑียร พันธุเมธากุลBack, Neck and Other Joint Pain Research Group, Faculty of Associated Medical Science, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002, THAILAND, Email : [email protected]
บทคัดย่อ
ภาวะข้อไหล่ติด เป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานทำให้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ซึ่งรบกวนการพักผ่อนและการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ข้อไหล่จะเป็นไปอย่างยากลำ บากหรือไม่สามารถทำ กิจกรรมนั้นได้ เลย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลระยะสั้นของการออกกำลังกายแบบชักรอกต่อการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะข้อไหล่ติด โดยทำการศึกษาเชิงทดลองในรูปแบบ crossover ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน แบ่งเป็น ชาย 10 คน หญิง 20 คน อายุเฉลี่ย 58.47±9.64 ปี โดยทำการแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่มด้วยการจับสลาก กลุ่มที่ 1 จะได้รับการรักษาด้วยการวางแผ่นร้อนในครั้งแรกและในครั้งที่สองจะได้รับการวางแผ่นร้อนร่วมกับการชักรอก กลุ่มที่ 2 จะได้รับการรักษาด้วยการวางแผ่นร้อนร่วมกับการชักรอกในครั้งแรกและในครั้งที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยการวางแผ่นร้อน โดยระยะเวลาในการรักษาในครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองห่างกันหนึ่งสัปดาห์และทำการวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทิศทางการยกแขนขึ้นทางด้านหน้า กางข้อไหล่ หมุนข้อไหล่เข้า และหมุนข้อไหล่ออกทั้งก่อนและหลังการให้การรักษา ผลการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยการออกกำลังกายแบบชักรอกร่วมกับการวางแผ่นร้อนทำให้องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้น มากกว่าการรักษาด้วยการวางแผ่นร้อนเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง ในทิศทางของการยกแขนขึ้นทางด้านหน้า (p < 0.001) การกางข้อไหล่ (p < 0.001) การหมุนข้อไหล่เข้าด้านใน (p <
0.001) และการหมุนข้อไหล่ออกด้านนอก (p < 0.005) สรุปได้ว่าการออกกำลังกายแบบชักรอกร่วมกับการวางแผ่นร้อนสามารถเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้มากกว่าการวางแผ่นร้อนเพียงอย่างเดียว
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2554, September-December
ปีที่: 33 ฉบับที่ 3 หน้า 126-134
คำสำคัญ
Frozen shoulder, Diabetic patients, Pulley exercise