ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล และพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา
รัชจณา สิงห์ทอง*, ชนมาภรณ์ พงศ์จันทรเสถียร
Suratthani Hospital
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา ก่อนและหลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติ คือ เป็นผู้ป่วยและผู้ดูแลโรคจิตจากสุราที่อยู่ในพื้นที่เครือข่ายบริการของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี มีประวัติการป่วยทางจิตกลับซ้ำต้องนอนโรงพยาบาล หรือขาดการรักษาต่อเนื่อง จำนวนอย่างละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสุราล่วงหน้าสำหรับทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยนาน 4 เดือน คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตสำหรับผู้ดูแล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิต ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย และแบบวัดพฤติกรรมการดื่มสุรา (AUDIT) ขององค์การอนามัยโลก สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon singed rank test
ผล: หลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณีคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนการจัดการผู้ป่วยรายกรณีอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลด้านจิตใจ ก่อนและหลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ไม่แตกต่างกัน หลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคจิตจากสุราต่ำกว่าก่อนและการจัดการผู้ป่วยรายกรณีอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การดูแลโดยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ช่วยให้ผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตสูงขึ้นและผู้ป่วยโรคจิตจากสุรามีพฤติกรรมการดื่มสุราลดลง
 
ที่มา
วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปี 2555, January ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 19-27
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Case management, The drinking behaviors, Patients with alcoholic psychosis, การจัดการผู้ป่วยรายกรณี, ผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา, พฤติกรรมการดื่มสุรา