ผลการให้ยา Amifostine เพื่อปัองกันการเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับรังสีรักษา เพื่อรักษาโรคมะเร็งศีรษะและคอ
Vutisiri Veeasarn*, ประมุข พรหมรัตนพงศ์, นันทน์ สุนทรพงศ์, วิชาญ หล่อวิทยา, วิมล สุขถมยา, อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์, ชนวัธน์ เทศะวิบุล, ธิติ สว่างศิลป์, ชลเกียรติ ขอประเสริฐ, กาญจนา โชติเลอศักดิ์, ยงยุทธ คงธนารัตน์, อภิชาต พานิชชีวลักษณ์, สุนันทา เชี่ยววิทย์, ภาวนา ภูสุวรรณ, มลฤดี เอกมหาชัย, สามารถ ราชดารา, ศศิธร ศิริสาสิโภชน์, ยุทธนา แสงสุดา, กาญจนา โชติเลอศักดิ์, ชนวัธน์ เทศะวิบุล, ชลเกียรติ ขอประเสริฐ, ธิติ สว่างศิลป์, นันทน์ สุนทรพงศ์, ประมุข พรหมรัตนพงศ์, ภาวนา ภูสุวรรณ, มลฤดี เอกมหาชัย, ยงยุทธ คงธนารัตน์, ยุทธนา แสงสุดา, วิชาญ หล่อวิทยา, วิมล สุขถมยา, วุฒิศิริ วีรสาร, ศศิธร ศิริสาสิโภชน์, สามารถ ราชดารา, สุนันทา เชี่ยววิทย์, อภิชาต พานิชชีวลักษณ์, อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์Division of Radiation Oncology, Department of Radiology, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ยา Amifostine เป็นยาฉีด ก่อนการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งศีรษะและคอ เพื่อป้องกันการทำลายต่อมน้ำลาย ช่วยลดการมีน้ำลายแห้งแบบถาวร การศึกษานี้เป็นการศึกษาในคนไทยที่เป็นโรคมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาเพียงอย่างเดียว หรือ ได้รับรังสีรักษาหลังการผ่าตัดแล้ว วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและคอจำนวน 67 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการฉายรังสีรักษาอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ได้รับยา Amifostine ฉีดก่อนการฉายรังสีรักษาทุกวันเพื่อลดอาการปากแห้ง วิธีการประเมินผลการรักษาทำโดย ให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเรื่องอาการปากแห้ง การให้คะแนนอาการปากแห้งโดยแพทย์ การวัดปริมาตรน้ำลาย และการตรวจการทำงานของต่อมน้ำลายโดยวิธี 99mTc-pertecnetate scintigraphy แล้วเปรียบเทียบผลการตรวจก่อนการรักษาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม และการตรวจในระหว่างการรักษา เมื่อสิ้นสุดการรักษา และตรวจติดตามผลเป็นระยะ ๆ อีก 2 ปี ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา Amifostine มีคะแนนเฉลี่ยการมีปากแห้ง น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับรังสีรักษาอย่างเดียว (3.73 และ 6.49 คะแนน) ยา Amifostine ช่วยลดการเกิด Grade < 2 mucositis จากร้อยละ 75 เหลือ 36 และ Grade < 2 xerostomia จากร้อยละ 82 เหลือ 39 และผลการตรวจ 99mTc-pertecnetate scintigraphy แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับยา Amifostine มีต่อมน้ำลายที่กลับมาทำงานเป็นปกติ ถึงร้อยละ 36.3 เทียบกับร้อยละ 9.1 ในกลุ่มที่ได้รับรังสีรักษาอย่างเดียว สรุป: ยา Amifostine เมื่อฉีดให้ก่อนการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งศีรษะและคอ สามารถช่วยลดการเกิดอาการปากแห้งในระยะรักษา และช่วยป้องกันการมีอาการปากแห้งถาวรได้มากกว่าการฉายรังสีรักษาเพียงอย่างเดียว
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, December
ปีที่: 89 ฉบับที่ 12 หน้า 2056-2067
คำสำคัญ
Amifostine, Head and neck cancer, Mucositis, Radiotherapy, Xerostomia