การศึกษาเปรียบเทียบ Dimenhydrinate และ Ondansetron ในรูปรับประทานในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในระยะแรก
จุฑาลักษณ์ สุวรรณทินประภา, พลพันธ์ บุญมาก, วิริยา ถิ่นชีลอง, สุหัทยา บุญมาก*Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา dimendydrinate และ ondansetron ชนิดกิน ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนระยะแรกหลังผ่าตัด รวมทั้งความต้องการใช้ยารักษาอาเจียน และระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้ยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียนต่อการดูแลเรื่องคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงที่มารับการส่องกล้องทางนรีเวชที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์จำนวน 101 ราย ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มตัวอย่างเพื่อรับยาป้องกันอาเจียนก่อนการระงับความรู้สึก คือ 1) กลุ่ม dimenhydrinate กินยา 50 มก. 2)กลุ่ม ondansetron กินยา 8 มก. และผู้ป่วยทุกรายได้รับการระงับความรู้สึกแบบ general anesthesia ตามมาตรฐาน โดยในช่วงก่อนและหลังการระงับความรู้สึกจะได้รับการบันทึกค่า sedation score, nausea vomiting score และบันทึกความต้องการยารักษาอาเจียนพร้อมทั้งระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้ยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียนต่อการดูแลเรื่องคลื่นไส้อาเจียนในห้องพักฟื้นผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างในข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่ต้องการยารักษาอาเจียนเพิ่มเติม ผู้ป่วยร้อยละ 84 ในกลุ่ม dimenhydrinate ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในขณะที่ผู้ป่วยร้อยละ 96 ในกลุ่ม ondensetron ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน sedation score และความพึงพอใจ (95% CI -4.96, 2.67) ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า dimenhydrinate สามารถป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในระยะแรกหลังการระงับความรู้สึกได้ และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่ม ondansetron จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า โดยพบว่าระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้ยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียนต่อการดูแลเรื่องคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2549, July-September
ปีที่: 32 ฉบับที่ 3 หน้า 139-145
คำสำคัญ
anesthesia, dimenhydrinate, ondansetron, PONV