ประสิทธิผลขงโปรแกรมการจัดการอาการหูแว่วต่อลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วและอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท
วิมลพร เกียรติวุฒินนท์*, รื่นฤดี ลิ้มฉาย, ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ, วัลลภา กิตติมาสกุล
Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry
บทคัดย่อ
 
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการหูแว่ว ต่อลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่ว และอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภทที่รับไว้รักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการหูแว่ว ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมจัดการกับอาการหูแว่ว แบบประเมินลักษณะและระดับความรุนแรงของอาการหูแว่วและแบบประเมินความรุนแรงของอาการทางจิต โดยเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินมีค่าความเชื่อมั่น 0.7 และ 0.8 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติ Wilcoxon signed- ranks test และ Mann-Whitney U test
ผล: 1. ลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่ว และอาการทางจิต ในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
      2. กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมพบว่าลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่ว และอาการทางจิต ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: อาการหูแว่วในผู้ป่วยจิตเภทเป็นอาการที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้ป่วยจิตเภท การลดอาการหูแว่วที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับโปรแกรมการจัดการอาการหูแว่ว ที่มีกระบวนการบำบัดที่เป็นระบบ เพื่อฝึกทักษะการจัดการกับอาการที่เหมาะสม
 
ที่มา
วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปี 2551, September ปีที่: 2 ฉบับที่ 2 หน้า 1-12
คำสำคัญ
effectiveness, Schizophrenia, ประสิทธิผล, ผู้ป่วยจิตเภท, Auditory hallucination, Symptom management, อาการหูแว่ว, การจัดการอาการหูแว่ว