ผลของกลุ่มบำบัดแบบแก้ไขปัญหาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ราตรี ทองยู*, วรรณา คงสุริยะนาวิน, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์Group of Community health and Psychiatric Nursing, Faculty of Nursing, School of Nursing, Rangsit University, Email: [email protected]
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized controlled trial เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบแก้ไขปัญหาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 51 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า ได้รับการสุ่มเข้าเป็นกลุ่มทดลอง 25 คนและกลุ่มควบคุม 26 คน จากนั้นประเมินด้วยแบบวัดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้เข้าร่วม โปรแกรมการบำบัดแบบแก้ไขปัญหา เป็นการบำบัดรายกลุ่มใช้เวลาในการบำบัดครั้งละ 40 - 55 นาที สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง รวม 6 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ไคว์สแควร์ และ t - test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มทดลอง (M = 8.92, SD = 3.66) มีระดับอาการซึมเศร้าลดลงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 15.88, SD = 3.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05)
จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ ควรมีการจัดระบบการคัดกรองอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โรคเบาหวาน เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและ ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติและชุมชนมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
ที่มา
วารสารสภาการพยาบาล ปี 2554, July-September
ปีที่: 26 ฉบับที่ 3 หน้า 78-92
คำสำคัญ
ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, Group problem-solving therapy, Older Adult, Type-2 diabetes, Depressive symptoms, การบำบัดแบบแก้ไขปัญหา, อาการซึมเศร้า