การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงเป็นญาติและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในจังหวัดนราธิวาส
การิมาน มะยิ*, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง
Tumbon Health Promoting Hospital, Tumbon Riang Ruesok District Narathiwat Province
บทคัดย่อ
 
                การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุน-ผลได้ และอัตราส่วนของผลได้ต่อต้นทุนระหว่างญาติกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดนราธิวาส ประชากรเป้าหมาย คือญาติ 35 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 32 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกต้นทุน และแบบสัมภาษณ์ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
                ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีญาติเป็นพี่เลี้ยงมีต้นทุนรวมทั้งหมด เท่ากับ 713,329.70 บาท ต้นทุนทางการแพทย์ เท่ากับ 371,864 บาท (10,624.69 บาทต่อราย) และต้นทุนที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ เท่ากับ 341,465.70 บาท (9,756.16 บาทต่อราย) หรือ 1.06: 0.98 สำหรับผลได้ทางตรงของญาติ เท่ากับ 439ม919.30 บาท (ผลได้ต่อต้นทุน = 1.29) ส่วนต้นทุนการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงมีต้นทุนรวมทั้งหมด เท่ากับ 544,655.17 บาท ต้นทุนทางการแพทย์ เท่ากับ 383,188 บาท (11,974.63 บาทต่อราย) และต้นทุนที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ เท่ากับ 161,467.17 บาท (5,045.85 บาทต่อราย) หรือ 1.20 : 0.50 ส่วนผลได้ทางตรงของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่ากับ 175,184.60 บาท (ผลได้ต่อต้นทุน = 1.08)
                ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าญาติควรเป็นทางเลือกแรกในการตัดสินใจเลือกเป็นพี่เลี้ยงโดยเฉพาะในผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป ซึ่งจะมีความคุ้มค่ามากที่สุด ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมีความคุ้มค่าในผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับโรคเอดส์ จึงควรขยายรูปแบบทั้งสองไปใช้ในทุกอำเภอของนราธิวาส
 
ที่มา
วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2554, July-December ปีที่: 6 ฉบับที่ 2 หน้า 20-29
คำสำคัญ
Cost-benefit analysis, Tuberculosis, การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้, Community health service, วัณโรค, การบริการสุขภาพชุมชน