การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ภาระงานของบุคลากรสุขภาพ และประสิทธิภาพการใช้เตียง ของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู
อมร ทองรักษ์
Nongbualamphu Provincial Public Health Office, Nongbualamphu, Thailand
บทคัดย่อ
 
 วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนดำเนินการต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เปรียบเทียบภาระงานของบุคลากรสุขภาพ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้เตียงของโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในจังหวัดหนองบัวลำภู ในทัศนะของผู้ให้บริการ
วิธีการศึกษา: ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบรายงาน 0110 รง.5 ในปีงบประมาณ 2551 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา: พบว่าในปีงบประมาณ 2551 โรงพยาบาลชุมชนทั้ง 5 แห่งในจังหวัดหนองบัวลำภู มีต้นทุนดำเนินการรวม 276.21 ล้านบาท จำแนกเป็นค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เท่ากับ 43.20 ล้านบาท ค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง เท่ากับ 73.29 ล้านบาท ต้นทุนดำเนินการต่อหน่วยบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลขนาด 30 และ 60 เตียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 425.32 และ 375.18 บาทต่อครั้ง ตามลำดับ คิดเป็นค่าเฉลี่ยทั้งจังหวัดเท่ากับ 405.26 บาทต่อครั้ง ต้นทุนดำเนินการต่อหน่วยบริการผู้ป่วยในของโรงพยาบาลขนาด 30 และ 60 เตียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,954.48 และ 5,252.52 บาทต่อราย คิดเป็นค่าเฉลี่ยทั้งจังหวัดเท่ากับ 5,763.64 บาทต่อราย โรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติฯ มีภาระงานของบุคลากรสุขภาพทั้ง 3 สายงานต่ำที่สุด โดยโรงพยาบาลนากลางมีภาระงานของแพทย์สูงสุด คิดเป็น 2.44 เท่าของโรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลศรีบุญเรืองมีภาระงานของเภสัชกรและพยาบาลวิชาชีพสูงที่สุด คิดเป็น 2.32 เท่า และ 1.42 เท่า ของโรงพยาบาลนาวังเฉลิมพระเกียรติฯ ตามลำดับ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้เตียงของโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด พบว่ามีโรงพยาบาล 2 แห่ง ที่มีอัตราการครองเตียงและอัตราการหมุนเวียนการใช้เตียงมากกว่าร้อยละ 100 แสดงว่ามีการเพิ่มเตียงผู้ป่วยเกินกรอบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่ง มีอัตราการครองเตียงและอัตราการหมุนเวียนการใช้เตียงน้อยกว่าร้อยละ 10
ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรทรัพยากรทางสาธารณสุขให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
ที่มา
เวชสารแพทย์ทหารบก ปี 2552, October-December ปีที่: 62 ฉบับที่ 4 หน้า 193-206
คำสำคัญ
โรงพยาบาลชุมชน, Family System Theory, Family strength, Diabetes Mellitus patient family, Group counseling, ต้นทุนดำเนินการ, ภาระงาน, การใช้เตียง, จังหวัดหนองบัวลำภู