ต้นทุนทางสังคมที่เกิดจากผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมและปริมณฑลที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์
วรัญญา รัตนวิภาพงษ์*, จรพร สิริวีรโรจน์, พัทธรา ลีฬหวรงค์, ยศ ตีระวัฒนานนท์
Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP), Ministry of Public Health
บทคัดย่อ
 
                ในการผ่าตัดหลายสาขาได้ใช้คีมเชื่อมเปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้ เปรียบเทียบผลของการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องโดยใช้วิธีเย็บผูกหลอดเลือดแบบปกติและใช้คีมเชื่อมเปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้า ในภาวะที่ไม่ใช่มะเร็ง แบ่งผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง (อาจร่วมกับการตัดปีกมดลูกและรังไข่) 60 ราย เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้วิธีเย็บผูกเส้นเลือดแบบปกติจำนวน 30 ราย และกลุ่มที่ใช้คีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้า จำนวน 30 ราย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดในกลุ่มเย็บผูกหลอดเลือดแบบปกติ คือ 92.3, SD 26.54 นาที เทียบกับ 70.03, SD 21.06 นาที ในกลุ่มคีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้า (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยของจำนวนเลือดที่เสียไปในการผ่าตัดในกลุ่มเย็บผูกเส้นเลือดแบบปกติ คือ 357, SD 245.34 มิลลิลิตร เทียบกับ 248.33, SD 154.52 มิลลิลิตร ในกลุ่มคีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้า (p 0.04) กลุ่มคีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้า ใช้วัสดุผูกเย็บเส้นเลือดในการผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มเย็บผูกหลอดเลือดแบบปกติ (ค่าเฉลี่ย 7.27 หน่วย เทียบกับ 10.77 หน่วย, p < 0.001) ไม่พบความแตกต่างของจำนวนเลือดที่ให้ทดแทน ระยะเวลาการพักในโรงพยาบาล ผลข้างเคียงระหว่างการผ่าตัดและภายหลังการผ่าตัด ระหว่างสองกลุ่ม ความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดไม่แตกต่างกันเมื่อเวลา 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมง แต่ในกลุ่มคีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้ามีความเจ็บปวดภายหลังผ่าตัด เมื่อเวลา 24 ชั่วโมง น้อยกว่าในกลุ่มวิธีเย็บผูกเส้นเลือดแบบปกติ สรุป คีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้าเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพงแต่สะดวกในการผ่าตัด การใช้คีมเชื่อมปิดหลอดเลือดด้วยไฟฟ้าในการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องสามารถลดเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ลดการเสียเลือดระหว่างการผ่าตัด ลดความเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด วิธีนี้ทำให้การผ่าตัดเร็วขึ้น และปลอดภัยเทียบเท่าวิธีเย็บผูกเส้นเลือดแบบปกติ นอกจากนี้การใช้วัสดุผูกเย็บเส้นเลือดน้อยลงจะคุ้มค่ากับเครื่องมือราคาแพงนี้ถ้าใช้ในโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2555, March-April ปีที่: 21 ฉบับที่ 2 หน้า 224-236
คำสำคัญ
Cost, ต้นทุน, leukemia, industrial area, benzene, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, พื้นที่อุตสาหกรรม, เบนซีน