การเปรียบเทียบการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยยา Dexamethasone ให้ร่วมกับ Ondansetron กับให้ Ondansetron อย่างเดียวในหญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอดที่ได้รับยา Morphine เข้าช่องน้าไขสันหลัง
โสภิต เหล่าชัย*, บุษบงค์ ทาทอง, สุธีรา ดีโสภา
กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุโขทัย
บทคัดย่อ
 
 การให้ยา morphine เข้าช่องน้าไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอดมีฤทธิ์การระงับปวดหลังผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ อาการคลื่นไส้อาเจียน พบอุบัติการณ์ได้ร้อยละ 60-80 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วย dexamethasone 8 มิลลิกรัม ให้ร่วมกับ ondansetron 4 มิลลิกรัม เปรียบเทียบกับให้ ondansetron 8 มิลลิกรัมอย่างเดียว ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอดที่ได้รับยา 0.5% hyperbaric bupivacaine 2.0-2.2 มิลลิลิตร ผสมกับ morphine 0.2 มิลลิกรัม เข้าช่องน้าไขสันหลัง วิธีการศึกษาใช้วิธี prospective, double-blinded, randomized trial ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาผ่าตัดคลอดแบบไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลสุโขทัย จานวน 120 คน ได้รับการระงับความรู้สึกแบบ spinal anesthesia โดยผู้ป่วยได้รับยา 0.5% hyperbaric bupivacaine 2.0-2.2 มิลลิลิตรผสมกับ morphine 0.2 มิลลิกรัมเข้าช่องน้าไขสันหลัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มศึกษา ภายหลังจากเด็กคลอดได้รับยา dexamethasone 8 มิลลิกรัม ผสมกับ ondansetron 4 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา กลุ่ม 2 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา บันทึกค่าความดันโลหิต จานวนยา ephedrine ที่ให้ อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการคัน อาการง่วงซึม (24 ชั่วโมง) สถิติที่ใช้คือ Unpaired t-test, Chi-Square test และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีของ เชฟเฟ (Scheffé test) ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับยา dexamethasone 8 มิลลิกรัมผสมกับ ondansetron 4 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P = 0.048) ในช่วงเวลา 7-24 = ชั่วโมง หลังผ่าตัด (late PONV) โดยสรุปการให้ยา dexamethasone 8 มิลลิกรัมผสมกับ ondansetron 4 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงเวลา 0-6 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด (early PONV) แต่สามารถป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงเวลา 7-24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด (late PONV) ได้ดีกว่า ซึ่งสามารถลดอาการอาเจียนได้อย่างมีนัยสาคัญและราคาถูกกว่า (74 กับ 124 บาท) เมื่อเทียบกับ ondansetron 8 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดา
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2551, April-September ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 33-44
คำสำคัญ
ondansetron, dexamethasone, intrathecal morphine, Postoperative nausea and vomiting, มอร์ฟีนเข้าช่องน้าไขสันหลัง, อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด